Page 194 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 194
วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา 193
เช่น พืชเศรษฐกิจเพื่อการค้า ทําให้คุณภาพของดินแย่ลงและความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรถดถอยเป็นเหตุ
ให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลงอย่างรวดเร็ว ความล้มเหลวในเชิงนโยบายของรัฐนี้เองส่งผลให้พื้นที่ป่า
ลดลงและส่งผลให้ชุมชนท้องถิ่นและกลุ่มชนชาติพันธุ์ต่างๆ ถูกลิดรอนสิทธิในการจัดการทรัพยากร สูญเสีย
ความมั่นคงในการใช้ที่ดินและป่า ตลอดจนต้องละเมิดวัฒนธรรมการผลิตแบบดั้งเดิม (ยศ สันตสมบัติและ
คณะวิจัย, 2547: 24) ข้อสรุปจากการศึกษาของคณะวิจัยข้างต้นนี้ เป็นแนวคิดที่สอดคล้องกับทัศนะของนัก
ประพันธ์ที่พบในวรรณกรรมร่วมสมัยของไทย โดยเฉพาะวรรณกรรมของวัธนา บุญยัง
ป่าของวัธนา บุญยัง
วัธนา บุญยังเป็นนักเขียนที่สร้างสรรค์วรรณกรรมแนวผจญภัยในป่ามาตลอดในช่วงเวลา 34 ปี
วรรณกรรมของวัธนาล้วนเป็นเรื่องเกี่ยวกับวิถีของสรรพชีวิตในป่าใหญ่ไพรกว้าง แสดงให้เห็นคุณค่าและความ
อุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ในอดีต รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับป่าและภูมิปัญญาของชาวบ้านที่เข้าไปอาศัย
พึ่งพาป่า ผลงานวรรณกรรมของวัธนาแม้ไม่หลากหลายแต่มีคุณค่า โดยเฉพาะจุดยืนที่ชัดเจนในการชี้ชวนให้
ผู้อ่านเกิดความสํานึกรักธรรมชาติ เน้นให้เห็นถึงความสําคัญของป่าไม้ พืชพันธุ์ สัตว์ป่า คนและการอยู่ร่วมกัน
วรรณกรรมของวัธนา บุญยังมีทั้งสารคดี เรื่องสั้นและนวนิยาย ล้วนเป็นเรื่องเล่าถึงประสบการณ์ใน
การเดินทางเข้าป่า พบเจอเรื่องราวชวนตื่นเต้นและน่าประทับใจจากธรรมชาติและน้ําใจอันงดงามของเพื่อน
มนุษย์ ลีลาภาษาที่กระชับชัดเจนทําให้ผู้อ่านรู้สึกเสมือนกําลังร่วมผจญภัยและเรียนรู้วิถีแห่งป่าไปพร้อมๆ กับ
ตัวละคร นอกจากจะอุดมไปด้วยความสนุกตื่นเต้นแล้ว วรรณกรรมของวัธนายังมีแง่งามทางวรรณศิลป์และ
ความลุ่มลึกในเชิงความคิด จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นวรรณกรรมแนวผจญภัยที่มีคุณค่า เช่น นวนิยายเรื่อง
ใบไม้ร่วงในป่าใหญ่ ได้รางวัลดีเด่นจากงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ประเภทบันเทิงคดีสําหรับเยาวชน ประจําปี
พ.ศ. 2531 และนวนิยายเรื่อง ป่าเปลี่ยนสี ได้รับรางวัลชมเชยจากเซเว่นบุ๊คส์อะวอร์ด ประจําปี พ.ศ. 2546
วรรณกรรมของวัธนาได้รับความสนใจจากนักอ่านมาอย่างต่อเนื่อง
ประเด็นที่น่าสนใจอันเป็นที่มาของบทความนี้ คือวรรณกรรมหลายเรื่องของวัธนา บุญยังสะท้อนให้
เห็นคุณค่าของป่าไม้ ความสัมพันธ์ของคนกับป่าและปัญหาเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิชุมชนในการดูแลจัดการ
ทรัพยากร วัธนาแสดงความคิดเรื่องป่าในนวนิยายเรื่องใบไม้ร่วงในป่าใหญ่ ว่า “ป่าไม่ได้ให้ข้าพเจ้าแต่
ความรู้สึกร้อนหนาว สนุกสนานตื่นเต้นเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า หรืออิ่มเอมกับความสดชื่นสวยงามของภาพ
ที่ผ่านตา ป่าในความรู้สึกของข้าพเจ้า ไม่ได้มีแค่ต้นไม้และสัตว์ แต่ป่ามีอะไรให้ข้าพเจ้าได้มากกว่านั้น
ในช่วงชีวิตที่ได้มีโอกาสตระเวนไปในป่าโปร่งและดงดิบ ด้วยความรักและประทับใจในความงามและสงบ
สงัดของป่าเขาลําเนาไพร” (วัธนา บุญยัง, 2536: 10)