Page 193 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 193

192      แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน



                  บทนํา

                       ทุกวันนี้ความสูญเสียที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ทั่วโลก โดยมีสาเหตุมาจากวิกฤตภัยทางธรรมชาติ เช่น

                สภาพอากาศที่ร้อนแล้ง พายุ น้ําท่วม แผ่นดินไหว ภัยเหล่านี้ที่เกิดบ่อยครั้งและมีความรุนแรงมากขึ้นอย่าง
                เห็นได้ชัด ดังนั้นปัญหาเรื่องธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึงเป็นประเด็นสําคัญที่มนุษยชาติควรหันกลับมา

                ใคร่ครวญอย่างจริงจัง แต่ปัญหาระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติมีความซับซ้อนมาก เพราะคู่ขัดแย้งมิได้มีแค่
                มนุษย์กับธรรมชาติเท่านั้น แต่ยังมีความขัดแย้งระหว่างมนุษย์ด้วยกันเอง เช่น กรณีการแย่งชิงทรัพยากรและ

                การแย่งชิงสิทธิในการจัดการทรัพยากร ปมปัญหามีตั้งแต่ระดับภายในกลุ่มคนที่มีสิทธิในจัดการทรัพยากรหรือ
                ธรรมชาตินั้นๆ หรือ ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มคนที่มีสิทธิในจัดการทรัพยากรกับกลุ่มคนภายนอก เช่น

                เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เข้าไปสํารวจตรวจสอบ นายทุนที่ต้องการครอบครองทรัพยากรหรือแม้แต่นักอนุรักษ์ที่
                ห่วงใยธรรมชาติ เป็นต้น เห็นได้ว่าปัญหาระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติในกรณีการแย่งชิงทรัพยากรและสิทธิใน
                การจัดการทรัพยากรในทุกวันนี้ขยายขอบเขตออกไปมากและในที่สุดก็กลายเป็นประเด็นขัดแย้งเรื่องสิทธิ

                มนุษยชน เมื่อรัฐและผู้มีอํานาจในการจัดการออกกฎหมายมาควบคุมโดยหวังให้ความขัดแย้งสิ้นสุด แต่การ
                กลับกลายเป็นว่ากฎหมายเหล่านั้น มีผลกระทบต่อเนื่องไปถึงเรื่องสิทธิชุมชนหรือสิทธิในการจัดการทรัพยากร

                ของชุมชนในหลากหลายพื้นที่

                       ดังนั้นจึงมีการพยายามหาทางออกและคลี่คลายปมขัดแย้งเหล่านี้ เช่น งานวิจัยเรื่อง นิเวศวิทยา
                ชาติพันธุ์ ทรัพยากรชีวภาพและสิทธิชุมชน โดย ยศ สันตสมบัติและคณะวิจัย (2547) งานวิจัยนี้ศึกษา
                ภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรรวมถึงการจัดการป่าชุมชนนั้น พบว่าภูมิปัญญาท้องถิ่น

                เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากร มีหลักการและแนวคิดที่สัมพันธ์กับแนวคิดพื้นฐานเรื่องสิทธิชุมชน อาจกล่าวได้

                ว่าแนวคิดเรื่องสิทธิชุมชนและการจัดการป่าชุมชนในปัจจุบันเป็นสิ่งเดียวกับ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่มีอยู่แล้ว
                ตั้งแต่อดีต ที่ชาวบ้านสร้างและสั่งสมขึ้นมา จนเป็นองค์ความรู้ สะท้อนระบบคิดที่เกิดขึ้นมาจากการเรียนรู้
                สิ่งแวดล้อมของคนในพื้นที่ ดังนั้นการรักษามาตรฐานในการดํารงชีวิตของตนเองและภูมิปัญญาท้องถิ่นของ

                แต่ละชุมชนไว้จึงเป็นสิ่งที่มีค่า แต่สิ่งนี้กลับถูกมองข้ามและทําให้กลายเป็นสิ่งผิด เพราะอคติเรื่องการอนุรักษ์
                โดยเฉพาะข้อสรุปที่กล่าวหาว่าชาวเขาและคนยากจนคือผู้บุกรุกพื้นที่ป่าและเป็นผู้ทําลายสิ่งแวดล้อม ทั้งที่จริง

                แล้วมูลเหตุที่สําคัญอาจมาจากนโยบายของรัฐที่เร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตลอดช่วงหลายปีที่
                ผ่านมา โดยเฉพาะทิศทางการพัฒนาประเทศเป็นการพัฒนาเชิงเดี่ยว คือ การขยายตัวของเศรษฐกิจเป็น

                สําคัญ รัฐจึงเร่งรัดและใช้ทรัพยากรจากป่า และที่ดินทํากินในภาคเกษตรเพื่อเพิ่มผลผลิต ขยายการส่งออก
                และนํารายได้มาหล่อเลี้ยงภาคอุตสาหกรรม ในกระบวนการพัฒนานี้รัฐเข้ามามีบทบาทจัดการและรวมศูนย์

                อํานาจเรื่องการจัดการทรัพยากรโดยใช้กฎหมายควบคุมและกล่าวอ้างถึงความชอบธรรมและความมั่นคง รัฐ
                เข้ามาจัดการพื้นที่ป่าไม้และบริหารโดยให้สัมปทานนายทุน ตลอดจนการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชเชิงเดี่ยว
   188   189   190   191   192   193   194   195   196   197   198