Page 192 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 192

กฤตยา ณ หนองคาย








                     บทคัดย่อ

                            บทความนี้มุ่งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคนกับป่าและปัญหาเรื่องสิทธิชุมชนในการจัดการ
                     ทรัพยากรในวรรณกรรมของวัธนา บุญยัง จํานวน 5 เรื่อง ได้แก่ ใบไม้ร่วงในป่าใหญ่ พรานคนสุดท้าย หอมกลิ่น

                     ป่า ไพรมืด และรางเหล็กในป่าลึก การศึกษานี้นําวรรณกรรมวิจารณ์เชิงนิเวศสํานึกและมโนทัศน์เรื่องสิทธิชุมชน
                     มาใช้เป็นแนวทางวิเคราะห์ตัวบท ผลการศึกษาทําให้เห็นว่าจุดยืนในการสร้างสรรค์วรรณกรรมวัธนา บุญยัง คือ
                     การเสนอว่า การทําลายป่าไม้แท้จริงมาจากการบริหารนโยบายที่ผิดพลาดของภาครัฐ เช่น การให้สัมปทานป่า

                     แก่ภาคอุตสาหกรรมโดยไม่คํานึงถึงผลกระทบ ผู้เขียนเสนอว่าปัญหาป่าไม้ถูกทําลายไม่ได้มีเหตุมาจากการที่

                     ชุมชนเข้าไปตั้งรกรากในพื้นที่ป่า เพราะชุมชนในป่าจะช่วยรักษาความอุดมสมบูรณ์ของป่าไว้ด้วยภูมิปัญญาด้าน
                     การจัดการทรัพยากร กอปรกับจิตสํานึก และความเชื่อว่าธรรมชาติมีคุณอนันต์ต่อมวลมนุษย์ ผู้เขียนนําเสนอ
                     แนวคิดผ่านวิถีของนายพราน ทั้งในฐานะผู้รู้และผู้ล่า นอกจากนั้นผู้เขียนยังใช้ฉากป่าอันงดงามเพื่อชี้ให้เห็น

                     คุณค่าของการสัมผัสธรรมชาติและสายสัมพันธ์ที่ตัดไม่ขาดระหว่างคนกับป่า
   187   188   189   190   191   192   193   194   195   196   197