Page 179 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 179

178      แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน



                       ภาพที่อุชเชนีบรรยายนั้นเป็นเพียงตัวแทนหนึ่งในความสูญเสียและภาวะที่ประชาชนต้องเผชิญอย่าง
                หลีกเลี่ยงไม่ได้  ภาวะการไร้ซึ่งอาหาร ที่อยู่อาศัย ที่พึ่งพิง หรือแม้แต่ความรู้สึกปลอดภัยในชีวิตนั้น ถือได้ว่า

                เป็นสิ่งที่สงครามหยิบยื่นให้กับมนุษย์ผู้สูญเสียสิทธิในการดํารงชีวิตอย่างปกติสุข โดยไม่มีทางปฏิเสธหรือ
                หลีกเลี่ยงแต่อย่างใด

                       จากกวีนิพนธ์ข้างต้น จะเห็นได้ว่ามีเนื้อหากล่าวถึงการสูญเสียชีวิตของคนในครอบครัว การขาด

                แคลนปัจจัยในการดํารงชีวิต ซึ่งตรงกับสิทธิมนุษยชนที่ว่าด้วยสิทธิในการมีอาหาร สภาพร่างกาย ที่อยู่อาศัยที่
                มีมาตรฐานเหมาะสมกับการดํารงชีวิตและสิทธิในการมีชีวิต

                       นอกจากความสูญเสียของประชาชนทั่วไปแล้ว อุชเชนียังได้ใช้กวีนิพนธ์เป็นปากเสียงเพื่อกล่าวแทน

                “ทหาร” ผู้เคราะห์ร้าย ต้องเสียชีวิตเนื่องจากสงคราม ดังในกวีนิพนธ์ “ผู้นิทรา” ที่ว่า

                               เขาทอดกายหงายอยู่บนหญ้านุ่ม         ใต้เมฆกลุ่มเกลื่อนกรายขยายแถว
                               แถบทองทาบอาบริมอิ่มเป็นแนว          ดูเพริศแพร้วพลิกผันพรรณราย  [...]

                               กลิ่นดอกไม้ไล้ฆานหวานระรื่น         ไม่ฉ่ําชื่นใจเชยเลยสักหน
                               คงนิ่งพับหลับใหลไม่ติงตน            กลางเสียงสนสะอื้นเห่เอกากลัว
                               ทั้งร่างชืดเย็นเฉียบเยียบสะท้าน     กลางแดดจ้านจ้าอยู่ดูน่าหวัว
                               สีข้างปรี่ปรุแดงด้วยแรงรัว          กระสุนชั่วเชือดชัดตัดหัวใจ

                                                                                 (อุชเชนี, 2544: 115-116)

                       รวมทั้งกวีนิพนธ์ “มิช้ําออกฉะนี้เลย” ที่อุชเชนีใช้เพื่อเป็นกระบอกเสียงกล่าวแทนแม่ผู้สูญเสียลูก
                ชาย เพราะต้องไปเป็นทหารในสงคราม ซึ่งการกล่าวเช่นนี้แสดงให้เห็นว่าอุชเชนีตระหนักถึงสิทธิในเรื่องการมี

                ชีวิตของมนุษย์ เช่นในตอนที่ว่า

                               ยากเย็นเห็นลูกหลัดหลัด              กลับพลัดพรากไปใครฝืน

                               บังคับข่มเราเฝ้ากลืน                สะอื้นไห้หาอาลัย
                               ใครส่งลูกไปไกลแม่                   เจ็บแท้เลือดอกฟกไหล
                               ใครยื่นปืนผาหน้าไม้                 เสือกใส่มือเจ้าเข้าณรงค์  [...]

                               ดั่งใครควักใจไปเชือด                โซมเลือดขวัญสิ้นบินแขวน
                               ลูกร้างห่างไร้ใครแทน                ทั่วแดนหาเหมือนลูกยา
                               ธรณีเขาอื่นหมื่นแสน                 แร้นแค้นฅนขาดวาสนา
                               นักหรือจึงล่อทรมา                   เราเช่นผักปลาทารกรรม

                               แม้นลูกแม่ตายเพื่อราษฎร์            ยามชาติเอียงนักจักคว่ํา
                               เลือดหยดอดอยากกรากกรํา              มิช้ําอกชอกฉะนี้เลย
                                                                           (อุชเชนี, 2544: 48-49)
   174   175   176   177   178   179   180   181   182   183   184