Page 178 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 178
วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา 177
กวีนิพนธ์ของอุชเชนี กล่าวถึง
เหตุการณ์ในตอนนั้นว่าเนื่องจากในระหว่างที่
ไทยเข้ามีส่วนร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น
ญี่ปุ่นได้ควบคุมสนามบิน ทางรถไฟ และ
เส้นทางคมนาคมเพื่อการทหาร รวมทั้งยังเข้า
รุกรานประชาชน เรียกร้องเครื่องอุปโภค
บริโภค รวมทั้งทําร้ายประชาชนกลุ่มที่
รถไฟจากไทยสู่พม่า เรียกกันว่า ทางรถไฟสายมรณะ ขัดขวางการทํางานและต่อต้านการเข้ามา
(Death Railway) จ.กาญจนบุรี ของญี่ปุ่นด้วย อุชเชนีในฐานะกวีร่วมสมัยจึง
ต่อต้านสงคราม ด้วยการแสดงถึงความโหดร้ายอย่างรุนแรงของสงคราม โดยใช้น้ําเสียงที่กล่าวออกมาแบบ
เกรี้ยวกราด รุนแรง ซึ่งใช้คําและน้ําเสียงดังกล่าวเพื่อนําพาผู้อ่านให้เสมือนได้ไปประสบภาวะนั้นด้วยตนเอง
ดังเช่นในบทกวีนิพนธ์ “ศานติสิยอดบูชา” ที่ว่า
ความตายปราบพ่นมนต์ขลัง ประดังกระแทกแหลกป่น
เราโจนโผนผลุดรุดร้น กลิ้งกล่นกระเสือกเกลือกดิน
ฝันร้ายเหมือนไฟนรก ลามแลบแสบอกกายสิ้น
น้ําตาพร่ามัวรัวริน ด่าวดิ้นกลางแร้วแนวลวง
สงครามหยามเย้ยยิ้มหัว แสยะยั่วย่ามใจใหญ่หลวง
โลหิตสดสดซดตวง พีพ่วงกอบก่อทรกรรม
(อุชเชนี, 2544: 69)
นอกจากนี้ยังพบว่าอุชเชนีเป็นกวีที่มักจะกล่าวถึงความยากลําบากและความเดือดร้อนของประชาชน
โดยทั่วไปอีกด้วย อุชเชนีมีมุมในการมองเห็นความสูญเสียที่เป็นไปในระดับครัวเรือนของหญิงและเด็กที่ต้อง
สูญเสียชายผู้ซึ่งเป็นผู้นําครอบครัว (ซึ่งอาจไปเป็นทหาร อาสาสมัคร หรือทํางานในหน่วยที่เกี่ยวกับการรบ)
มากกว่ากวีชายที่มักจะมองในเรื่องการเมืองหรือมองว่าเป็นความสูญเสียที่เกิดขึ้นในองค์รวมมากกว่า เช่นใน
กวีนิพนธ์ “เมื่อศึกมีมา” อุชเชนี ได้สะท้อนภาพความยากไร้ของแม่ลูกคู่หนึ่งออกมาว่า
แสนระกําตรําตรากและยากไร้ กลางผองภัยบีบล้นชนประชา [...]
นางเฝ้าเหม่อเผลอใจลอยไปอื่น กลางค่ําคืนครวญคะนึงถึงใครนี่
ถอนฤทัยไหวระทึกตรึกฤดี เมื่อศึกมีมาเหลือเบื่อระบม
ไร้อาหารบ้านนาที่อาศัย ไร้เพื่อนใจจึงฟกขื่นอกขม
หนูน้อยเอ๋ยเคยกระหายสายน้ํานม จักซวดซมอดซานสงสารนัก
(อุชเชนี, 2544: 60-61)