Page 180 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 180
วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา 179
นอกจากนี้ยังพบว่านายผี ได้กล่าวถึงภาพความเจ็บปวดของทหาร แต่พูดในทํานองวิพากษ์ความเชื่อ
6
เรื่องเครื่องรางของขลัง พร้อมกล่าวในน้ําเสียงที่มีอารมณ์ขันที่จะเอ่ยถึงนามปากกาของตน คือ “นายผี”
อย่างไรก็ตามจะเห็นได้ว่านายผีก็ตระหนักถึงความเจ็บปวดและสูญเสียของทหารเช่นกัน ดังในกวีนิพนธ์
“ความเผลอของนายผี”
ได้ยินข่าวกล่าวกันลั่นไปหมด เหมือนโป้ปดปั้นเท็จให้เข็ดขาม
คือทหารบ้านเราเข้าสงคราม พอถูกหามกลับมาพญาไท
หมอตรวจดูอูแน่ะอกตกสะเก็ด บอกว่าเคล็ดตามซี่โครงคิดสงสัย
หมอคลําหาหวากระดูกถูกอะไร จึงป่นไปปานกะแป้งเหมือนแกล้งงอ
ทหารเขาเล่าว่าถูกลูกระเบิด บ้างว่าเกิดเพราะปืนกลพ่นปร๋อปร๋อ
บ้างถูกหอกตอกที่อกชกที่คอ บ้างว่าอ๋อผมปืนใหญ่มันไล่ยิง
ถึงเจ็บกายไม่วายปราณคลานเข้ารับ แทงสําทับข้าศึกลงงอขิง
พอมีชัยจึงได้หามมาตามจริง เพราะพระกริ่งเสื้อยันต์เพราะขวัญตา
สามสถานการณ์ศักดิ์สิทธิ์คิดไม่ตก เรื่องคู่รกคู่รักยังไม่กังขา
เพราะอะไรก็ไม่สู้คู่ชีวา แต่นิจจาพระกับเสื้อเหลือจะคิด
เสื้อสีแดงดูแข็งขันเลขยันต์มุ่ง ไทยทั้งกรุงแย่งกันใหญ่จนไขว่ขวิด
ตาเจ้าของเอาลองขายหมายมีฤทธิ์ คนชนิดอย่างไหนไหนก็ไปซื้อ
เลขรวยใหญ่ใจทะยานพานจะขํา ส่วนพระทํากันที่ไหนอย่างไรหรือ
พอรู้เรื่องเคืองเหลือใจร้องไห้ฮือ เล่นดื้อดื้อกระดูกเราเอาไปทํา
(นายผี, 2541: 40-41)
นอกจากที่ได้กล่าวไปแล้ว ยังพบว่าสุภร ผลชีวิน หรือ “แสงกรานต์” ได้แสดงความคิดเห็นของตน
7
ต่อเหตุการณ์ครั้งนี้ โดยเขียนแล้วส่งไปลงพิมพ์ในวารสาร “วงวรรณคดี” ในช่วงหลังสงคราม โดยกล่าว
วิพากษ์และสาปแช่งผู้คนที่ได้รับผลประโยชน์จากสงคราม คือพวก “เศรษฐีสงคราม” มากกว่ากล่าวถึงผู้
สูญเสีย เช่นใน “วิมานบนซากมนุษย์” ที่กล่าวว่า
ประหลาดใจใครหนอคิดก่อสร้าง วิมานอย่างเมืองฟ้าค่าหลากหลาย
อ่างน้ําพุพ่นฝอยปรอยประกาย ประสานสายไฟพุ่งเป็นรุ้งงาม
เสียงหัวร่อต่อกระซิกระริกระรี้ ของสตรีบุรุษลั่นบนชั้นสาม
ท่านเศรษฐีมีแต่สุขสนุกยาม โลกสงครามโชคยิ่งช่วยรวยนิรันดร์ [...]
6 นายผี คือ นามปากกาของ อัศนี พลจันทร.
7 วารสารวงวรรณคดี เป็นวารสารที่ออกวางตลาดในช่วงปี พ.ศ.2489 ถึง พ.ศ.2490 และออกบ้างหยุดบ้างมาจนถึง
ปี พ.ศ.2496 โดยมีพระพิสัณท์พิทยาภูณ เป็นเจ้าของ และมีหม่อมหลวงจิตติ นพวงศ์ เป็นบรรณาธิการ.