Page 183 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 183

182      แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน



                               ศีลธรรมส่ําทรามด้วยความชั่ว         เห็นแก่ตัวทุจริตผิดวิสัย
                               เกิดโรคร้ายให้อนาถทุกชาติไป         เป็นสมัยกลียุคเข้ารุกราน
                                                               (โฆษณา อ้างถึงใน อวยพร มิลินทางกูร, 2519: 119)


                       ภาพความลําบากยากแค้นของประชาชนผู้ประสบเหตุที่โฆษณาข้างต้นนี้ เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่มนุษย์
                พึงมี คือ สิทธิในอาหาร สุขภาพ และที่อยู่อาศัย มาตรฐานการครองชีพอย่างพอเพียง หากแต่ต้องสูญเสียไปใน
                ช่วงเวลาเกิดสงครามนั่นเอง


                       นอกจากนี้ยังมีกวีนิพนธ์ “ศีลธรรมหลังสงคราม” ของ ผ.จันทร์ทอง ซึ่งเป็นหนึ่งในกวีที่แต่งบทกวีลง
                พิมพ์ในวารสารเอกชน ก็ได้กล่าวถึงการไร้ศีลธรรมของคนในช่วงหลังสงคราม ดังในบทที่ว่า

                               หลังสงครามนี้ทําไมจิตตใจคน          จึงมืดมนเห็นผิดว่าคิดดี

                               แม้ไม่ช่วยกันขจัดสลัดกิเลส          ทั้งประเทศเหลือแต่กากเหมือนซากผี
                               ชีวิตหลังสงครามทรามสิ้นดี           เพราะไม่มีศีลธรรมประจําใจ
                                                           (ผ.จันทร์ทอง อ้างถึงใน อวยพร มิลินทางกูร, 2519: 119)

                       นอกจากที่ได้กล่าวไปแล้ว จะพบว่ามีกวีนิพนธ์สมัยใหม่อีกกลุ่มหนึ่งที่มีเนื้อหาที่นอกจากจะสะท้อน

                ภาพความยากลําบากเดือดร้อน วิพากษ์ภาวะการไร้ศีลธรรมของมนุษย์ ตลอดจนเล่าเรื่องราวและเหตุการณ์ที่

                เกิดขึ้นเนื่องจากภาวะสงครามในครั้งนั้นแล้ว ยังกล่าวถึงสันติภาพ-สันติสุข โดยที่กวีผู้แต่งจะเน้นคําว่า
                “สันติภาพ” เป็นหลัก โดยจะชี้ให้ผู้อ่านเห็นคุณค่าของความสงบ เพื่อกันไม่ให้เกิดสงครามครั้งต่อไป ซึ่งนับได้
                ว่าเป็นการหาทางออกของกวีต่อเหตุการณ์สงครามในคราวนั้น เช่นใน “ศานติพิชิตมิตรรัก” ของทวีปวร ที่ว่า


                                      ศานติ ! ศานติ ! จิรพจน์      ปรากฏประกาศแก่หล้า
                               เสียงหนุนซ้องสนั่นลั่นมา            ศานติสิพาสถาพร
                               ทั่วโลกเทิดล้ํานําจิต               ชีวิตห่างไกลภัยหลอน

                               ทั่วโลกเทิดล้ํากําจร                สงครามลามร้อนโรยไป
                               ศานติสิมนุษย์สุดหวัง                รวมพลังก่อเกื้อเพื่อให้
                               โลกสุขแล้งเศร้าเร้าใจ               ศานติสิหทัยใฝ่ปอง

                                                                                   (ทวีปวร, 2539: 67-69)

                        ทวีปวรใช้กวีนิพนธ์เป็นกระบอกเสียงเพื่อแสดงความรู้สึกของตน โดยกล่าวแทนมวลมนุษย์ในโลก ผู้ซึ่ง
                มีใจหวังให้เกิดสันติสุขขึ้นในไม่ช้า สันติภาพเป็นจุดหมายของการหลุดพ้นจากภาวะแห่งความทุกข์ทนซึ่งเกิด

                จากสงคราม กวีหวังให้เกิดสันติภาพ เพราะสันติภาพเท่านั้นที่จะทําให้โลกที่วุ่นวายสงบสุขขึ้นมาได้

                       ส่วนอุชเชนี ซึ่งเป็นกวีที่มีงานเขียนเกี่ยวกับสงครามมากกว่ากวีท่านอื่น ก็กล่าวถึงแนวคิดเรื่อง
                สันติภาพไว้ในกวีนิพนธ์ หลายบทด้วยกัน ได้แก่ “ศานติสิยอดบูชา” ซึ่งกล่าวไว้ว่า
   178   179   180   181   182   183   184   185   186   187   188