Page 177 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 177

176      แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน



                เป็นไปของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างตรงไปตรงมา จากนั้นจึงแสดงความคิดเห็นของตนใส่ลงไปในเพลง อย่างไร
                ก็ตาม จะพบว่าความคิดเห็นของกวีที่สะท้อนออกมาในเพลงพื้นบ้านนั้นมีความต่างจากความคิดเห็นในกวี

                นิพนธ์ในด้านน้ําเสียงของกวี ในกวีนิพนธ์กวีจะถ่ายถอดความคิดเห็นที่เกิดจากปฏิกิริยาและความรู้สึกที่จริงจัง
                กวีจะกล่าวถึงความรู้สึกและสภาพความสูญเสียที่พบด้วยน้ําเสียงที่เข้มขรึม จริงจัง หนักแน่น ส่วนในเพลง
                พื้นบ้านนั้น กวีจะแสดงความคิดเห็นที่แฝงไปด้วยอารมณ์ขันของตน เนื่องจากเพลงเป็นวรรณกรรมที่สร้างขึ้น

                เพื่อตอบสนองและส่งผลให้เกิดอารมณ์ที่มีความสนุกสนานเป็นสําคัญ ดังที่ในเพลงฉ่อยของชาวบ้านที่จังหวัด
                นครปฐม ที่กล่าวถึงเหตุการณ์ในคราวสงครามโลกครั้งที่ 2 นี้ไว้ว่า


                                      ที่แปดธันวามันนาฬิกาตรง      ไม่รู้กี่โมงผมยังจํามันไม่ได้
                               ดูพวกญี่ปุ่นมันทารุณล้นเหลือ        ปุริแล่นเรือมาในประเทศไทย
                               ทหารไทยก็ร้องว่าไอ้เกลอ             ขืนเข้ามาจะเย่อเสียให้อ่อนใจ

                               แต่ทหารญี่ปุ่นทารุณหนักหนา          เดินตรงเข้ามาซิไม่กลัวใคร
                               ทหารไทยร้องว่าฉ่าช้าไอ้เกลอ         ขืนเข้ามากูจะเย่อเสียให้เย็นใจ
                               ยกปืน ป.ต.อ.เข้าไปรอท่าเรือ         เห็นต่างชาติท่านไม่เชื่อก็เย็นใจ
                               ยิงไปดังปังแต่ไปถึงบางปู            ก็ผู้คนไม่รู้นึกว่าเกิดภัย

                               วิ่งกันอลวน                         ชุลมุนมากมาย มากมาย
                                         (เพลงฉ่อยของชาวบ้านที่จังหวัดนครปฐม อ้างถึงใน สุกัญญา สุจฉายา, 2542: 274)


                       จากตัวอย่างของเพลงพื้นบ้านดังกล่าว กวีผู้แต่งได้ใช้อารมณ์ขันเป็นเครื่องมือในการวิพากษ์วิจารณ์
                สังคมด้วยน้ําเสียงที่เสียดสี ประชดประชันนั่นเอง

                       จากที่กล่าวไปแล้วข้างต้น จึงแสดงให้เห็นว่ากวีนิพนธ์ไทยสมัยใหม่เป็นกระบอกเสียงเพื่อวิพากษ์สิ่งที่

                เกิดขึ้นและปลดปล่อยความอัดอั้นภายในใจของกวีและคนผู้ประสบเหตุ กวีเลือกใช้กวีนิพนธ์ในการแสดง
                ความคิดเรื่องสงคราม การสูญเสีย ตลอดจนกล่าวในลักษณะของการตระหนักถึงสิทธิมนุษยชนที่มนุษย์ถูก

                ละเมิดเพราะการเกิดสงครามด้วย

                       (2) กวีนิพนธ์ในฐานะกระบอกเสียงของกวีเพื่อเรียกร้องแทนผู้สูญเสีย
                       ทัศนะที่กวีมักจะแสดงออกมาต่อเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2  นี้ นอกจากการใช้กวีนิพนธ์เป็น
                กระบอกเสียงเพื่อวิพากษ์และปลดปล่อยความอัดอั้นของตนแล้ว  ยังพบว่ามีกวีที่แสดงความชิงชังต่อความ

                รุนแรงของสงครามที่นําแต่ความหายนะมาสู่ผู้คนอีกด้วย การตระหนักรู้ของกวีในลักษณะเช่นนี้เองที่สามารถ
                ตีความได้ว่า กวีให้ความสําคัญกับสิทธิมนุษยชนอยู่ไม่น้อย เพราะกวีสนใจว่าคนผู้บริสุทธิ์ เหตุใดจึงต้องพบกับ

                ชะตากรรมที่เลวร้าย ต้องพบกับความสูญเสียและหายนะเช่นนี้ ในสายตาของกวีสงครามเปรียบเสมือนไฟนรก
                ที่คอยแต่จะผลาญชีวิตมนุษย์อย่างไร้ซึ่งความปรานี
   172   173   174   175   176   177   178   179   180   181   182