Page 184 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 184

วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา   183



                                          ศานติสิยอดบูชา               มิตรจ๋าเราโง่หรือไฉน
                                   ปล่อยรุดหลุดคล้อยลอยไป              เพียงใจขาดหวิวลิ่วลอย
                                                                                    (อุชเชนี, 2544: 64)


                            กวีนิพนธ์ “ก้องกว่าเสียงปืน” อุชเชนีกล่าวไว้ว่า

                                          เขาหรือคือโซ่สาย             แนวรักรายเราหยัดยืน
                                   กว่าเกลี้ยงทั่วเสียงปืน             ศานติซ้องก้องโลกา
                                                                                    (อุชเชนี, 2544: 103)


                            ส่วนใน “เพียงฝันเท่านั้นหรือ” อุชเชนีกล่าวถึงสันติภาพและสันติภพไว้ว่า

                                          พิศแดนฝันสันติภพสงบซึ้ง      กระหายพึ่งผูกรักเป็นศักดิ์ศรี

                                   ชาตาโหดโฉดกระชากพรากชีวี            ให้ร้อนรี่รุดเริดระเหิดเลย
                                          ทิ้งเนินฝันนั้นไว้ไกลลิบลิบ    สุดมือหยิบเสียแล้วแก้วตาเอ๋ย
                                   เนินคงลาดสะอาดเห็นเหมือนเช่นเคย     ได้ชื่นเชยเพียงฝันเท่านั้นหรือ
                                                                                    (อุชเชนี, 2544: 109)


                            นอกนี้ยังมีกวีนิพนธ์ของนายผี บทที่ชื่อว่า “สุขหรือสงคราม” ตอนที่ว่า

                                                  สงครามทรามสุดเศร้า   สาหัส
                                          ไฉนนี่ริรับรัด               เร่งสู้

                                          เตรียมรบจักร่านจัด           จริงแน่ ไฉนเฮย
                                          ควรขัดคนร้ายกู้              สุขแก้กลับศานติ
                                                  ผิผองชนช่วยค้าน      สงคราม

                                          ยืนหยัดไป่ยอมตาม             ศึกเต้า
                                          จักแก้ทุรยุคยาม              ยับย่อย
                                          สุขย่อมยืนอยู่เหย้า          ไป่ย้อนขยับหนี

                                                                               (นายผี, 2541: 266-267)

                            จากการศึกษากวีนิพนธ์ข้างต้น จะเห็นได้ว่ากวีแทบจะทุกคนกล่าวถึง “สันติภาพ” และความสงบสุข
                     ว่าเป็นจุดหมายปลายทาง เป็นทางแก้ปัญหา และเป็นทางออกของสงคราม


                            สงครามโลกครั้งที่ 2  หรือสงครามครั้งใดก็ตาม ถือเป็นความรุนแรงขั้นสูงที่มนุษย์แสดงออกเพื่อใช้
                     เป็นทางออกในการแก้ปัญหา สงครามเป็นความรุนแรงในระดับโลกและเป็นความรุนแรงทางตรง
                     (ม.ร.ว.พฤทธิสาน ชุมพล, 2534: 176)  ในทางกลับกัน เมื่อสงครามได้พรากเอาสิทธิที่มนุษยชนพึงมีไป หาก

                     ทว่าสันติภาพกลับกอบกู้เอาสิทธิมนุษยชนกลับคืนมาสู่มวลมนุษย์อีกครั้ง ความเข้าใจที่ผู้คนมีให้สันติภาพก็คือ
   179   180   181   182   183   184   185   186   187   188   189