Page 182 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 182
วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา 181
ให้ราคาสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น ยารักษาโรค แป้ง (ทําขนม) น้ําตาล ด้ายเย็บผ้า หรือรองเท้า เป็นต้น ด้วยเหตุ
นี้จึงเกิดพ่อค้าที่กักตุนสินค้าประเภทนี้ไว้แล้วโก่งราคาให้สูงขึ้น จนตนได้เป็น “เศรษฐีสงคราม” ซึ่งรวยจาก
การค้าในช่วงหลังสงคราม นอกจากนี้ในบทกวีข้างต้นยังกล่าวถึงการฉ้อราษฎร์บังหลวง (ของข้าราชการ) ที่ใช้
หน้าที่ของตนกอบโกยประโยชน์ในขณะที่สังคมและประเทศชาติกําลังเดือดร้อนอีกด้วย
นอกจากนี้ยังพบว่ามีกวีนิพนธ์ที่กล่าวถึงการฉ้อราษฎร์บังหลวง ด้วยการกล่าวบริภาษ ประณาม และ
สาปแช่งผู้ฉวยโอกาสจากสงครามด้วย เช่นในกวีนิพนธ์ “พิษฐาน” ของเจ้าหญิงจันทิมา ซึ่งเป็นกวีกลุ่มเอกชน
เช่นเดียวกับหยาดฝน ลักษณะของการอธิษฐานที่เจ้าหญิงจันทิมาเลือกใช้เป็นกลวิธีในการนําเสนอนั้น โดย
ปกติจะเป็นการขอพรและสิ่งดีๆ ให้บังเกิดขึ้น หากแต่เจ้าหญิงจันทิมานํามาใช้ในทางกลับกัน เพราะใช้ในการ
สาปแช่งผู้คนที่เอารัดเอาเปรียบคนผู้ตกทุกข์ได้ยากจากเหตุการณ์สงครามนั่นเอง เช่นในบทตัดตอนที่กล่าวไว้ว่า
ขออย่ามีที่คนพาลสันดานหยาบ มาก่อบาปกรรมเชือดเนื้อเลือดไหล
พวกขายชาติขาดสิ้นจากดินไทย พวกจิตต์ใจทรยศจงหมดตัว
พวกโกงคลังบังหลวงหลอกลวงราษฎร์ ให้พินาศอับเฉาหมดเงาหัว
พวกถือเพศเผด็จการสามานย์มัว พวกทําชั่วโดยอํานาจของราชการ [...]
พวกกักกันสรรพสินค้าพวกหน้าเลือด คอยเฉือนเชือดค้าขายโหดร้ายเหลือ
พวกสัปปลับอัปรีย์มีเหลือเฟือ พวกเหยียบเรือสองแคมแถมสอพลอ
(เจ้าหญิงจันทิมา อ้างถึงใน อวยพร มิลินทางกูร, 2519: 115)
จะเห็นได้ว่าบทกวีนิพนธ์ทั้ง 2 บทข้างต้น แสดงให้เห็นสภาพโดยรวมในวงการเศรษฐกิจและสังคม
ตลอดจนความเป็นไปของวงราชการของไทยในช่วงหลังสงครามโลกครั้งนี้เป็นอย่างดี การที่ประชาชนต้องพบ
กับภาวะเลวร้ายเช่นนี้ คําและความที่หยาดฝนและเจ้าหญิงจันทิมากล่าวนั้นถือเป็นอีกเสียงสะท้อนหนึ่งที่กวี
เลือกใช้กวีนิพนธ์เป็นปากเสียงแทนผู้ประสบภัย แทนผู้ถูกล่วงละเมิดสิทธิเพราะพิษสงครามโลกครั้งที่ 2
นั่นเอง
นอกจากนี้มีกวีร่วมสมัยบางคนในกลุ่มเอกชนที่ได้กล่าวถึงการขาดศีลธรรมของประชาชนทั่วไป และ
พูดถึงคติความเชื่อในทางศาสนาพราหมณ์ ในเรื่องของจตุรยุค ว่าในขณะนั้นคงเป็นช่วงสมัยกลียุค ซึ่งเป็นยุคที่
มีแต่ความย่อยยับ พินาศ อับจนและมีแต่สิ่งร้าย ในยุคนี้ธรรมะของมนุษย์จะลดลงเหลือเพียง 1 ใน 4 เท่านั้น
เช่นที่ใน “ทางสันติในทัศนะหนึ่ง” ของโฆษณา ที่ลงในวารสารเอกชนว่า
สงครามเสร็จเด็ดขาดอนาถหนอ ทุกชาติก็จนยากลําบากนัก
คนนับล้านบ้านที่ไม่มีพัก เสื้อผ้าจักพันกายแทบไม่มี
โภชนาอาหารกันดารสุด ต้องม้วยมุดวอดวายกลายเป็นผี
บังเกิดโจรโสณจิตต์ขึ้นผิดที ประชาชีชอกช้ําระกําใจ