Page 174 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 174
วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา 173
เลือดนองจะนองภวมิเหือด ก็เพราะเลือดละโมบไหล
หลงเลศกิเลสอคติใน มนะคนมิพ้นผอง
เลือดจับประทับรุธิระจันทร์ สุขะสันติ์ฤหวังครอง
ด้วยเลือดมิเหือดพิภพนอง ทุรยุคจะปลุกแปลง
(ทวีปวร, 2539: 26)
นอกจากที่ได้กล่าวไปแล้ว พบว่ายังมีกวีไทยที่ใช้สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นเนื้อหาผลงานประพันธ์ที่
แสดงให้เห็นความจริงว่าในช่วงนั้นการประกาศเข้าร่วมทําสงครามกับฝ่ายอักษะซึ่งมีญี่ปุ่นเป็นผู้นําในแถบ
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐบาลเป็นการตัดสินใจที่ไทยไม่ได้เต็มใจนัก และการที่ไทยตัดสินใจเช่นนั้นเป็น
การตัดสินใจประกาศที่ฝ่ายสัมพันธมิตรไม่ได้รับรู้ด้วย ดังจะเห็นได้จากบทกวีของ น.ม.ส. ในเรื่อง “สามกรุง”
ซึ่งได้กล่าวไว้ว่า
ประเทศไทยใจสทก ตกกระไดพลอยโจน โอนฤทัยไปตาม ประกาศสงครามโฆษณา
ว่าอเมริกาอังกฤษ เป็นอมิตรของไทย แต่ไชมมหาราษฐ์ ไม่ประกาศสงคราม ตอบสยามสักคํา
ทําไม่รู้ไม่ชี้ การที่เป็นเช่นนี้ ชักโน้มนําใจ ไฉนเนอฯ (น.ม.ส., 2518: 273-274)
การตั้งคําถามของ น.ม.ส. ในบทกวีข้างต้นนั้น เป็นการแสดงความสงสัยว่าการที่ฝ่ายสัมพันธมิตร
ไม่ได้รับรู้การประกาศเข้าร่วมสงครามของไทยนั้นเป็นเพราะเหตุใด และเมื่อพิจารณาดูระยะเวลาที่แต่งบทกวี
บทนี้ คือ วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ.2487 นั้น จึงทราบได้ว่าเรื่องที่ไทยมีขบวนการเสรีไทยที่เข้าอยู่กับฝ่าย
สัมพันธมิตรยังไม่เป็นเรื่องที่เปิดเผยในสังคมขณะนั้น น.ม.ส. ซึ่งเป็นกวีที่อยู่ในช่วงเหตุการณ์ที่ยังคลุมเครือ จึง
มีความสงสัย จึงตั้งคําถามต่อสังคม และแสดงออกด้วยกวีนิพนธ์ ลักษณะเช่นนี้เองที่แสดงให้เห็นว่ากวีได้
ตระหนักถึงการมีอยู่ของสิทธิในการแสดงความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมทางการเมืองนั่นเอง
ตอนท้ายเรื่องของ “สามกรุง” น.ม.ส. ยังแสดงอารมณ์ประหวั่นกังวลถึงผลของการแพ้สงครามที่ไทย
จะได้รับ หากญี่ปุ่นแพ้สงครามด้วยว่าประเทศไทยจะมีทางออกเช่นไร ดังที่ น.ม.ส. กล่าวว่า
ฝ่ายเราเข้าเขตสร้าน ใจเสียว
ยุโหรปเยอรมันเดียว เด่นข้าง
อาสยาญี่ปุ่นเกลียว ตึงหย่อน ไฉนนา
ใครจะเป็นใครบ้าง เมื่อสิ้นสงคราม ฯ
ใคร่ครวญส่วนปัจจุบัน อันบุคคลควรคนึง ต่อไปถึงภายน่า ว่าที่สุดยุทธแม้ ญี่ปุ่นแพ้
สงคราม สยามจะผันฉันใด ใครสามารถก่อกู้ ใครรู้ลู่ทางบ้าง ไทยจะเท้งเคว้งคว้าง ไขว่คว้าหาหน
ไหนเอยฯ (น.ม.ส., 2518: 274)