Page 175 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 175

174      แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน



                        การที่ น.ม.ส.  แสดงความกังวลถึงผลของสงคราม
                โลกครั้งที่ 2 ที่จะมีต่อประเทศไทยนั้น เป็นเพราะหากญี่ปุ่น

                แพ้สงคราม และไทยถือว่าเป็นประเทศที่ร่วมมือทําสงคราม
                กับฝ่ายชนะแล้ว โทษสงครามที่จะได้รับคงรุนแรงเป็นแน่
                (ดังเช่นที่ญี่ปุ่นถูกอเมริกาสั่งทิ้งระเบิดปรมาณูลงที่นครฮิโรชิ

                มาและนางาซากิ)

                       อย่างไรก็ตามจากการที่ประเทศไทยขบวนการเสรี
                ไทยซึ่งมีบทบาทสําคัญยิ่งในการสนับสนุนฝ่ายพันธมิตรทั้งใน

                ด้านทหารและมนุษยธรรม ทําให้ไทยได้รับความสนับสนุน
                จากอเมริกาประกาศให้ไทยไม่ใช่ประเทศผู้แพ้สงครามเช่นที่

                น.ม.ส. และชาวไทยในขณะนั้นกังวล                        ระเบิดปรมาณูถูกทิ้งที่เมืองนางาซากิ
                                                                         (Nagasaki) ประเทศญี่ปุ่น
                       ความวิตกกังวลของกวีในลักษณะเช่นนี้ เพราะกวี
                สามารถคาดการณ์ได้ว่าเมื่อแพ้สงคราม ประเทศไทยอาจต้องได้รับบทลงโทษจากสังคมโลกที่รุนแรง ทั้ง ๆ ที่

                ความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากสงครามนั้นก็มีให้เห็นไม่น้อย ทั้งความสูญเสียในเรื่องชีวิตและทรัพย์สิน กวีจึงกังวล
                และทําได้เพียงตั้งคําถาม พร้อมตั้งความหวังว่าจะมีใครสักคนสามารถหาทางออกให้แก่ประเทศชาติได้


                       นอกจากการใช้กวีนิพนธ์แสดงความคิดเห็นในเรื่องสงครามโลกครั้งนี้ที่เกี่ยวพันโยงใยกับการเมืองใน
                ประเทศแล้ว ยังพบว่ามีกวีนิพนธ์ที่กล่าวถึงการเมืองระหว่างประเทศเป็นแก่นของเรื่องด้วย คือ “สงครามและ
                สันติภาพ” ของนายปรีดี ซึ่งเป็นนามปากกาของนายปรีดี พนมยงค์ เช่นในความตอนหนึ่งว่า


                                      สงครามโลกครั้งก่อนรอนชีวิต    มนุษย์ปลิดสิบกว่าล้านประมาณหมาย
                               คนเข็ดขามสงครามกันมากมาย            จึงตั้งค่ายสันนิบาตชาติประเทือง
                               เพื่อระงับดับทุกข์สิ้นยุคเข็ญ       ให้ร่มเย็นสวัสดีไม่มีเรื่อง
                               อยู่ร่วมกันสันติสุขทุกบ้านเมือง     คอยปลดเปลื้องข้อพิพาทบาดทะลุง  [...]

                               ซ้ํายังมีลูกระเบิดที่เลิศฤทธิ์       ปรมาณูแรงพิษโปรยกระหน่ํา
                               สงครามโลกลบหายคลายระกํา             สหชาติเริ่มนําเป็นองค์การ
                               เพื่อระงับดับสงครามครั้งสามสี่      ปรารถนาอย่างดีมีแก่นสาร

                               ให้ชาวชนพ้นทุกข์เรื่องรุกราน        แต่จะนานเพียงไหนก็ไม่รู้
                                                                                     (นายปรีดี, 2552: 13)

                       กวีนิพนธ์ข้างต้นนายปรีดีเขียนขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงราวสิบเดือนเศษ ซึ่งเป็น
                เรื่องที่เริ่มมีการกล่าวถึงกันมากขึ้นในช่วงนั้น เพราะเรื่องความร่วมมือระหว่างประเทศในการก่อตั้งองค์การ

                สหประชาชาติเพื่อระงับและป้องกันการเกิดสงครามครั้งต่อไปนั้น ดูจะเป็นทางออกที่พึงมีในขณะนั้น เป็น
   170   171   172   173   174   175   176   177   178   179   180