Page 181 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 181

180      แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน



                               ภาพประหลาดอนาถหลายก็หายวูบ          กลายเป็นรูปผลกรรมนําสนอง
                               พวกเศรษฐีสงครามทรามคะนอง            บัดนี้ต้องซานซบวิ่งหลบภัย   [...]
                               ฝนประหลาดสาดซัดทัศนา                เป็นข้าวปลาผ้าเสื้อเหลือประมาณ

                               อนิจจาน่าสังเวชท่านเศรษฐี           ฝนกลีจากฟ้ามาประหาร
                               ดิ้นสําลักข้าวเปลือกกะเดือกคลาน     เม็ดข้าวสารอุดนาสาอาสัญญ์ลง [...]
                               เสียงสํารวลสรวลลั่นสนั่นฟ้า         ของพระยายมคว้างอยู่กลางฝน
                               นี่แหละผลกรรมผองสนองคน              ที่คอยปล้นสุขพสกตกอบาย

                                                        (แสงกรานต์ อ้างถึงใน อวยพร มิลินทางกูร, 2519: 123-124)

                       การกล่าวเช่นนี้ของสุภรถือได้ว่าเป็นการใช้กวีนิพนธ์เป็นปากเสียงแทนผู้ประสบเคราะห์ร้ายจาก
                เหตุการณ์สงครามนั่นเอง


                       นอกจากกวีที่ถือว่ามีชื่อเสียงเช่นอุชเชนี นายผี และสุภร ผลชีวินแล้ว จะพบว่ายังมีกวีไทยอีกส่วน
                หนึ่งที่แม้จะไม่ได้เป็นบุคคลที่มีชื่อและเป็นที่รู้จักแพร่หลายนัก แต่กวีเหล่านี้ก็ได้ทําหน้าที่ของกวีที่ใช้บทกวี
                เป็นเครื่องมือในการแสดงอารมณ์ความรู้สึกต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งออกมาเช่นกัน
                                                               8
                อาทิเช่นกวีร่วมสมัยที่เขียนงานลงพิมพ์ใน “วารสารเอกชน”

                       ในช่วงหลังสงครามสงบลง และเมื่อกิจการของวารสารได้กลับมาดําเนินการอีกครั้ง หลังจากหยุดไป
                ระหว่างสงคราม จะพบว่านักเขียนหรือกวีกลุ่มนี้จะใช้พื้นที่ในวารสารดังกล่าวในการวิจารณ์สภาพเศรษฐกิจใน

                ขณะนั้น เช่นใน “ชีวิตยามสงคราม” ของหยาดฝน กวีร่วมสมัยที่เขียนผลงานลงในวารสารเอกชนในสมัยนั้น

                               รายได้ทรงคงเดิมไม่เพิ่มขยาย         แต่รายจ่ายท่วมท้นทนคําขวัญ

                               ต้องอดออมถนอมใช้ไปวันวัน            เพื่อเข้าคั่นสมดุลย์กับทุนรอน
                               แม้มิได้บางเบ่งด้วยเซ็งลี้          หรือเศรษฐีสงครามลามสลอน
                               ไม่ฉ้อหลวงโกงราษฎร์ให้ขาดรอน        ไม่ปลิ้นปล้อนสูบเลือดหรือเชือดเนื้อ

                                                              (หยาดฝน อ้างถึงใน อวยพร มิลินทางกูร, 2519: 114)

                       หยาดฝนใช้กวีนิพนธ์เป็นปากเสียงเรียกร้องและแสดงปฏิกิริยาแทนผู้สูญเสียโดยการวิจารณ์สภาพ
                เศรษฐกิจว่าเกิดความตกต่ําเพราะเป็นผลกระทบจากสงครามโลกครั้งที่ 2  อาทิ ปัญหาเงินเฟ้ออย่างรุนแรง

                แต่ก็ยังมีประชาชนบางส่วนที่มีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย เพราะสินค้าจําเป็นบางประเภทขาดตลาด ส่งผล



                       8  วารสารเอกชน เริ่มต้นออกวางขายในช่วงปี พ.ศ.2485 และได้หยุดกิจการไประยะหนึ่งในช่วงสงคราม เนื่องจาก
                ขาดแคลนกระดาษ ขาดเงินทุน และขาดกําลังการผลิต นักประพันธ์ที่เขียนงานลงในวารสารนี้ มักจะเป็นนักประพันธ์หน้าใหม่
                ซึ่งสร้างสรรค์งานที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องอยู่กับเศรษฐกิจและฐานะความเป็นอยู่ของคนไทยในสมัยนั้น.
   176   177   178   179   180   181   182   183   184   185   186