Page 176 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 176

วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา   175



                     เสมือนความหวัง ความต้องการร่วมกันของนานาประเทศและเป็นความต้องการของยุคสมัยนั่นเอง นอกจากนี้
                     ถึงแม้ว่าเรื่องความร่วมมือดังกล่าวจะมีการกล่าวถึงกันอย่างแพร่หลาย แต่ก็ดูจะเป็นการยากที่จะมีผู้หยิบยก

                     เรื่องดังกล่าวมาเขียนกันในรูปแบบของกวีนิพนธ์ การที่พบว่ามีบทกวีนิพนธ์ข้างต้นจึงเป็นตัวบ่งชี้ชัดในเรื่อง
                     การใช้บทกวีมาใช้ถ่ายทอดเรื่องราวของสงครามครั้งนี้ในหลากหลายมุมมองได้เป็นอย่างดี

                            ในความคิดเห็นของนายปรีดีสงครามก่อให้เกิดความทุกข์ต่อประชาชน จนถึงกับเรียกได้ว่าเป็น “ยุค

                     เข็ญ” ผู้คนต่างเข็ดหลาบกับภาวะที่ต้องจํายอมรับความสูญเสียที่ตนไม่ได้ก่อขึ้น เพราะมีการใช้คําว่า “รุกราน”
                     ลักษณะเช่นนี้ย่อมชี้ให้เห็นได้ว่ากวีไทยเห็นว่าการเกิดสงครามคือการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างหนึ่งคือ
                     ละเมิดสิทธิในการมีชีวิตส่วนตัว พื้นที่ส่วนตัวและสิทธิในการมีชีวิต


                            การกล่าวถึงการเมืองระหว่างประเทศของกวีไทยนั้น พบว่า น.ม.ส. ได้กล่าวถึงเหตุการณ์ของ
                     สงครามโลกครั้งที่ 2 โดยลําดับเหตุการณ์ เอ่ยชื่อผู้เกี่ยวข้อง ตลอดจนแสดงความรู้สึกของตนที่มีต่อประเทศ
                     และบุคคลในประวัติศาสตร์ไว้ด้วย ดังใน “สามกรุง” ตอนที่ว่า


                                                  แฉกฉีกอีกครั้งใหญ่    ยุโหรป แหลกแล
                                          ฮิตเลอร์เผยอปีกโฉบ           เฉิบคว้า
                                          มุสโซลินิโอบ                 แนวเอิบ
                                          กชั้นชิดอังกฤษกล้า           เกาะน้อยลอยชล

                                                  สองสหายผายอิทธิ์เอื้อม   อัฟริกา
                                          จวนจะจวบอาสยา                ย่านใกล้
                                          จงจิตปิดมรคา                 อังกฤษ

                                          สู่ทเลด้านใต้                แห่งด้าวอินเดีย
                                                  ได้ทีญี่ปุ่นเข้า     สู่สง ครามแฮ
                                          ดวงดั่งมังกรลง               ไล่เคี้ยว
                                          อังกฤษจะปลิดปลง              อํานาจ แล้วเนอ

                                          ยู. เอ็ส. คงเข็ดเขี้ยว       ครั่นคร้ามครามครัน   [...]
                                                  เก้าปี “ดีหนึ่ง” ได้    ครองดิน
                                          ญี่ปุ่นเข้าเมืองมลิน         มากไล้

                                          คั่งคับทัพทางสินธุ์          ทางบก
                                          ยึดแหล่งแห่งเราได้           ดั่งแคว้นแดนเขา
                                                                                      (น.ม.ส., 2518: 272-273)


                            นอกจากกวีนิพนธ์สงครามที่กล่าวถึงไปแล้วข้างต้น ยังพบว่ามีการแต่งเพลงพื้นบ้านที่มีเนื้อหา
                     เกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่ 2 ไว้ด้วย การแต่งเนื้อร้องของเพลงดังกล่าวนี้ ชาวบ้านจะเล่าเรื่องราวความเป็นมา
   171   172   173   174   175   176   177   178   179   180   181