Page 173 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 173

172      แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน



                ต่อมาจึงพบว่ามีกวีนิพนธ์ที่กล่าวบริภาษและตําหนิผู้นํารัฐซึ่งเขาถือว่าเป็นผู้ที่ทําให้เกิดความสูญเสียขึ้นแก่
                ประชาชนไทย


                                                                                                   5
                       ในกวีนิพนธ์ “คนดีศรีอโยธยา” ของทวีปวร ที่แต่งขึ้นเพื่อรําลึกและเชิดชูเกียรตินายปรีดี พนมยงค์
                เนื่องในวันปรีดี พ.ศ.2536 มีการกล่าวบริภาษ “ท่านผู้นํา” เพื่อเปรียบให้เห็นภาพความต่างกันระหว่างนาย

                ปรีดีกับท่านผู้นําในขณะนั้น (จอมพล ป. พิบูลสงคราม) เพื่อแสดงให้เห็นว่านายปรีดีมีคุณูปการต่อประเทศ
                มากมาย ส่วน “ลัทธิเชื่อผู้นําที่จะทําให้ชาติพ้นภัย” ตามที่รัฐกล่าว แท้จริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ ซึ่งลักษณะเช่นนี้

                เองที่แสดงให้เห็นว่ากวีได้ตระหนักถึงการมีอยู่ของสิทธิในการแสดงความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมทางการ
                เมือง ดังความตอนหนึ่งว่า


                               สงครามใหญ่ยาตรมา  ครานี้ไซร้ไป่สู้  ไป่คิดกู้ชาติไทย  ฝักใฝ่ข้างญี่ปุ่น  เป็นสมุน
                       กลับบังอาจ   ถึงประกาศสงคราม   ผลีผลามบ้าเกินคน   ทางอับจนสิ้นแล้ว    โอ้อนาถชาติ
                       ทะแกล้ว  กลับสิ้นสมองตัน  เตลิดเฮย   [...]

                                             คืนวันอันทุรกรรมกระหน่ําภวะประลัย
                                        ญี่ปุ่นพิชิตไทย            ทุเรศ
                                             ท่านผู้นําริระยําเผยอคุณะพิเศษ
                                      โอหังเพราะคลั่งเดช           ประดา

                                             ชาติไทยไกรกิร์ติผองผยองประลุมหา
                                      อํานาจประกาศกล้า             พิกล    [...]
                                             ยามเกิดวิกฤตวิการ เพลิงรุทรรําบาญ

                                      ทดสอบศักยภาพผู้นํา   [...]
                                             จอมพลเกริกไกรไพศาล    หดหัวเคยหาญ
                                      ญี่ปุ่นศักดามหามิตร
                                                                                 (ทวีปวร, 2539: 137-141)


                       นอกจากนี้ทวีปวรยังได้แสดงทัศนคติในเรื่องการต่อต้านสงคราม กวีจะแสดงถึงความโหดร้ายอย่าง
                รุนแรงของสงคราม โดยใช้น้ําเสียงที่กล่าวออกมาแบบเกรี้ยวกราด รุนแรง ซึ่งใช้คําและน้ําเสียงดังกล่าวเพื่อ

                นําพาผู้อ่านให้เสมือนได้ไปประสบภาวะนั้นด้วยตนเอง เช่นในบทกวีซึ่งตัดตอนจาก “พระจันทร์เป็นสีเลือด” ที่ว่า


                       5  นายปรีดี พนมยงค์ และสหายในกลุ่มคณะราษฎรฝ่ายพลเรือนหลายคน อาทิ นายทวี บุณยเกตุ นายควง อภัยวงศ์
                ได้ต่อต้านการตัดสินใจของรัฐบาลที่ประกาศเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น และต่อมาได้กลายมาเป็นขบวนการเสรีไทยในประเทศ โดย
                ร่วมมือกับ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เอกอัครราชทูตไทยประจําสหรัฐอเมริกา ผู้ไม่อาจยอมรับการของรัฐบาลไทย และได้ประกาศ
                ขบวนการเสรีไทยขึ้นที่ทางสหรัฐอเมริกา ในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ.2484  พร้อมกับขบวนการเสรีไทยในที่อื่นๆ ก็ได้เกิดขึ้น
                เช่นกัน.
   168   169   170   171   172   173   174   175   176   177   178