Page 172 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 172

วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา   171



                                          โฉดไฉนใจมนุษย์มาฉุดชัก       ทําหาญหักโหดกระหายหมายฉะเฉือน
                                   ทลายงามเพื่อสงครามย่ามใจเตือน       ทลายเรือนทลายรักหลักโลกา
                                    เมื่อทุ่งราบอาบเดือนเหมือนอย่างนี้  เมื่อราตรียังรวยรื่นชื่นนาสา
                                                                                               4
                                   เป็นไปได้หรือนี่ที่มนตรา            สงครามฆ่ารักแล้วแคล้วใจฅนฯ
                                                                                        (อุชเชนี, 2544: 72-73)

                            บทกวีข้างต้น อุชเชนี เลือกใช้คําว่า “มนุษย์” และเน้นถึงความเป็นมนุษย์อีกครั้งด้วยคําว่า “ฅน”

                     เพราะต้องการเน้นย้ําว่าสงครามเกิดขึ้นเพราะมนุษย์ เกิดขึ้นเพราะในจิตใจของมนุษย์ที่ไร้แล้วซึ่งความรักใน
                     ความเป็นมนุษยชาติ จิตใจที่มีความขัดแย้ง และหมายต้องการเอาชนะ ซึ่งเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นแล้ว ความ

                     ขัดแย้งบางอย่างอาจทําให้เกิดความรุนแรงเช่นการทําสงครามตามมา และในที่สุดก็ส่งผลกระทบให้สังคมไร้ซึ่ง
                     สันติภาพ


                            นอกจากนี้อุชเชนียังได้บริภาษผู้คนที่ร่วมทําสงครามกันนั้นว่า “กัดกัน”  เช่นสัตว์ป่า และจิตใจ
                     โหดร้ายเช่น “อสูร” อีกด้วย ดังที่ใน “กว่าสบสันต์สุขแท้” ที่ว่า


                                          ทําสงครามฉกาจกัดดั่งสัตว์ป่า   แต่หยาบใหญ่ไร้ค่าเมตตาสิ้น
                                   คงแต่ร่างสําอางศักดิ์หักอรินทร์     ส่วนใจกินกลั้วกล้ําเพียงน้ําตา
                                   โลกไร้งาม ความหวัง กระทั่งรัก       อกกระอักอั้นโอยเที่ยวโหยหา
                                   หวังอะไรเมื่ออสูรพูนโลกา            หวังอะไรเมื่อวิญญาถูกฆ่าฟัน

                                                                                      (อุชเชนี, 2544: 119-120)

                            ส่วนนายผี ก็ได้บริพารผู้นําในช่วงนั้นไว้ โดยเรียกว่าเป็น “เผด็จการ” ไว้ใน “เท่านั้นนะ เวยอกฮา” ว่า

                                          ผู้เผด็จการมาเกิดประเสริฐสุด    ช่างเร่งรุดความเจริญเกินสุขแสน

                                   บีบบังคับปรับปรุงผะดุงแดน           จะให้แม้นแม่นพิมานรําคาญใจ
                                          ก็เกิดทุกข์ขุกเข็ญเปนบ้าหลัง    ทุกถิ่นทั้งนคราที่อาศรัย
                                   เกิดสงครามลามลุกทุกข์หทัย           เจริญในจิตนึกยังลึกลับ

                                                                                          (นายผี, 2541: 180)

                            การเรียกผู้นําว่า “ผู้เผด็จการ”  เป็นคําที่ผู้อ่านในสมัยนั้นทราบได้ว่าเป็นใคร โดยที่กวีไม่จําเป็นต้อง
                     เอ่ยนามของท่านผู้นั้น แต่เมื่อกาลเวลาผ่านพ้นไปและเหตุการณ์ต่างๆ ของสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้คลี่คลาย

                     ไปสู่จุดจบในที่สุดแล้วนั้น แต่อารมณ์ความรู้สึก การมีสํานึกร่วมของกวีที่มีต่อสงครามครั้งนี้ยังไม่จบสิ้นไปด้วย





                            4  การเน้นข้อความในบทความนี้เป็นการเน้นของผู้เขียนบทความ
   167   168   169   170   171   172   173   174   175   176   177