Page 171 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 171
170 แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน
ไทยไปยังพม่าและมลายู เพื่อหลีกเลี่ยงความหายนะของประเทศอันจะเกิดจากการต่อต้านญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม
แม้ว่ารัฐบาลไทยได้ตัดสินใจทําเช่นนั้น บทสุดท้ายก็ยังนํามาซึ่งความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงให้แก่ประเทศชาติ
และประชาชนชาวไทย เพราะไทยต้องส่งกําลังบํารุงและวัตถุดิบทั้งหมดให้แก่กองทหารญี่ปุ่น ส่งผลให้เกิดการ
ขาดแคลนสินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าราคาแพงขึ้น รวมทั้งปัญหาเงินเฟ้อ การตัดสินใจในครั้งนี้รัฐบาลจึงถูก
สาธารณชนวิจารณ์และต่อต้านอย่างรุนแรง ซึ่งจากการศึกษาพบว่ากวีไทยร่วมสมัยจะกล่าวถึงสงครามโลก
ครั้งที่ 2 ไว้เป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ กวีนิพนธ์ในฐานะกระบอกเสียงของกวีเพื่อวิพากษ์และแสดงความคิดเห็น
และกวีนิพนธ์ในฐานะกระบอกเสียงของกวีเพื่อเรียกร้องแทนผู้สูญเสีย โดยจะศึกษาจากกวีนิพนธ์สงครามที่
2
แต่งหลังจากช่วงเวลาที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 คือ ราว พ.ศ. 2484- พ.ศ. 2499 รวมทั้งกวีนิพนธ์ร่วมสมัยที่
3
มีการกล่าวถึงสงครามครั้งนี้
(1) กวีนิพนธ์ในฐานะกระบอกเสียงของกวีเพื่อวิพากษ์และแสดงความคิดเห็น
การที่รัฐบาลไทยเข้าไปมีส่วนในการร่วมมือกับฝ่ายญี่ปุ่น ซึ่งอยู่ฝ่ายอักษะ เหตุเพราะรัฐบาลได้รับคํา
ขู่จากอัครราชทูตญี่ปุ่นว่าหากไทยไม่ยอมเปิดดินแดนก็จะมาทิ้งระเบิดในเขตพระนคร จอมพล ป. พิบูลสงคราม
นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นมองเห็นว่ากองทัพไทยไม่อาจต้าน
กองทัพญี่ปุ่นไว้ได้นาน จึงได้ตกลงลงนามร่วมเป็นพันธมิตรของ
ญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม ค.ศ.1941 (พ.ศ.2484) ณ อุโบสถ
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ส่งผลให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์
รัฐบาลไปในวงกว้าง อย่างไรก็ตาม ไม่พบว่ามีกวีนิพนธ์ที่แสดง
การวิพากษ์รัฐบาลหรือผู้นํารัฐอย่างตรงไปตรงมาในขณะนั้นแต่
อย่างใด อาจเป็นเพราะคงไม่เหมาะนักที่กวีจะวิพากษ์ออกมา
ในขณะนั้นก็เป็นได้ ทางออกที่กวีเลือกใช้ในการแสดงความ ในสนามรบ
คิดเห็น ตลอดจนความรู้สึกออกมาก็คือ การวิพากษ์ โดยที่กวีได้กล่าวถึงเรื่องสงครามและเหตุการณ์ในช่วงนั้น
ในลักษณะกลาง ๆ ว่า สงครามเกิดเพราะจิตใจที่ต่ําช้าของคน เช่น ในกวีนิพนธ์ของอุชเชนี บทที่ชื่อว่า
“เป็นไปได้หรือ” ที่กล่าวว่า
2 น่าสังเกตว่ากวีนิพนธ์สงครามที่แต่งในช่วงเวลาที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ส่วนใหญ่เป็นกวีนิพนธ์ที่แต่งขึ้นในช่วงหลัง
เหตุการณ์สงครามจบลง กวีนิพนธ์ดังกล่าวมักจะลงตีพิมพ์ในวารสาร/นิตยสารในสมัยนั้น อาทิ วารสารเอกชนรายสัปดาห์ นิตยสาร
สยามสมัย วารสารวงวรรณคดี วารสารอักษรสาส์น เป็นต้น มีเพียงกวีนิพนธ์ของนายผี บทที่ชื่อว่า “ความเผลอของนายผี” เท่านั้น
ที่แต่งขึ้นใน พ.ศ.2484 เพราะกวีนิพนธ์ที่แต่ง พ.ศ.2492 ลงมา.
3 กวีนิพนธ์กลุ่มนี้จะเป็นกวีนิพนธ์สมัยต่อมาที่กล่าวอ้างอิง/พาดพิงเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อเหตุผลบาง
ประการ เช่น “คนดีศรีอโยธยา” ของทวีปวร ที่แต่งขึ้นเพื่อกล่าวถึงคุณงามความดีของนายปรีดี พนมยงค์ และมีการกล่าวพาด
พึงถึง จอมพล ป. พิบูลสงคราม.