Page 170 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 170
วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา 169
กวีและพบว่ามีวรรณกรรมไม่น้อยที่กล่าวถึงสงครามและความคิดเห็นอันสืบเนื่อง อาทิ กวีนิพนธ์สงครามที่
กล่าวถึงสงครามโลกครั้งที่ 1 ของกวีร่วมสมัยกับเหตุการณ์ดังกล่าว อาทิ กาพย์เรื่อง “ต้อนรับทหารไทย”
พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเมื่อทหารไทยกลับจาก
ราชการสงครามโลกครั้งที่ 1 หรือ บทกวีของครูเทพ บทที่ชื่อว่า “เศรษฐเสนา สู้ เศรษฐสงคราม” “ภัยโลก”
“โจกโลก” “ชัยก่อ กับ ชัยทําลาย” “พฤษภ 2479” “ศานติสมัย” “อุดมคติ กับ สัมฤทธิคติ” “ไข้สันนิบาต”
“สงครามจําแลง” “ชําร่วยโลก” “เงาะถอดรูป” เป็นต้น
ต่อมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จะพบว่านักเขียนหรือกวีมีแนวคิดในการเขียนวรรณกรรมการ
สงครามและ/หรือกวีนิพนธ์สงครามที่พัฒนาและแตกต่างไปจากเดิมมากขึ้น กล่าวคือ กวีไทยหลายคนแทบจะ
ไม่ได้กล่าวถึงภาพสงครามในลักษณะของเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ หรือเรื่องอิงพงศาวดารหรือมหากาพย์
ภาพความกล้าหาญของพระมหากษัตริย์ในการสงคราม รวมทั้งสงครามที่เป็นเหตุการณ์ อนุภาค หรือตอน
หนึ่งของเรื่องราวในวรรณกรรมอีกต่อไป หากแต่กวีร่วมสมัยได้ใช้กวีนิพนธ์เป็นสื่อแสดงเจตจํานง เป็นพื้นที่ใน
การแสดงความคิดเห็น รวมทั้งเป็นเครื่องมือในการแสดงปฏิกิริยา ตลอดจนแสดงความรู้สึกต่าง ๆ ที่มีต่อภาวะ
ที่เกิดขึ้นต่อประชาชนในคราวสงครามอย่างชัดเจน กวีนิพนธ์ในไทยสมัยใหม่นี้ จึงถือได้ว่าเป็นกวีนิพนธ์
สงครามตามความหมายของ “War Poetry” ตามแบบสากลและมีลักษณะของวรรณกรรมที่กล่าวถึงสงคราม
ที่มีความเป็นสากลมากขึ้นด้วย
ผู้เขียนบทความจึงสนใจว่ากวีนิพนธ์ไทยสมัยใหม่ที่กล่าวถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น กวีกล่าวถึง
สงครามในลักษณะเช่นใด กวีอาจมองสงครามโลกครั้งนี้ในมุมของตนเอง หรืออาจมองจากมุมของผู้สูญเสีย ใน
ขณะเดียวกันผู้เขียนจะวิเคราะห์ในประเด็นเรื่องสงครามและสันติภาพที่มีความสัมพันธ์กับสิทธิมนุษยชน เพื่อ
แสดงให้เห็นว่าสงครามเป็นปัจจัยสําคัญที่ก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนอีกด้วย
สงครามโลกครั้งที่ 2 ในกวีนิพนธ์ไทยสมัยใหม่
1
เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มก่อตัวขึ้นในปี ค.ศ.1939 ซึ่งตรงกับปี พ.ศ.2482 นั้น ในช่วงแรก
สงครามยังคงจํากัดตัวอยู่ในยุโรป แอฟริกาและดินแดนตะวันออกกลางเป็นส่วนใหญ่ ยังมิได้แพร่หลายลุกลาม
เข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่การที่ญี่ปุ่นได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับเยอรมนีและอิตาลี ซึ่งอยู่ฝ่ายอักษะ
(Axis Powers) เป็นเหตุให้ในไม่ช้าไม่นานประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงถูกดึงเข้าสู่สงครามด้วย
ต่อมาไม่นานรัฐบาลไทยก็จําต้องเข้าร่วมสงครามโลกครั้งนี้ด้วยการที่ต้องจํายอมให้ญี่ปุ่นเดินทัพผ่านประเทศ
1 สงครามโลกครั้งที่ 2 ในยุโรปเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2482 เมื่อเยอรมนีโดย อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) ได้ยาตรา
ทัพบุกโปแลนด์และอีกหลายประเทศในยุโรป ส่วนสถานการณ์ในทวีปเอเชียนั้นก็คือ ช่วงที่ญี่ปุ่นเริ่มใช้นโยบายชาตินิยมและก่อ
สงครามมหาเอเชียบูรพาขึ้นที่จีนและเกาหลี และนี่เองที่เป็นจุดเริ่มต้นที่ประเทศไทยเข้าไปมีส่วนร่วมกับสงคราม.