Page 169 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 169

168      แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน



                       กวีนิพนธ์สงครามของไทยในยุคแรกคือ วรรณกรรมการสงคราม ตามคําจํากัดความของ กุลนรี
                ราชปรีชา (2552: 4-5) ที่ได้แบ่งวรรณกรรมไทยที่เกี่ยวกับการสงครามไว้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่


                       1) วรรณกรรมที่สะท้อนเกี่ยวกับการสงครามโดยตรง  หมายถึง วรรณกรรมที่มีเนื้อหาสาระ
                เน้นหนักที่การรบ หรือสะท้อนข้อมูล ความรู้ ความคิด เกี่ยวกับการสงคราม ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มต่างๆ ตามที่มา
                ของเนื้อหาและวัตถุประสงค์ในการแต่ง ได้แก่


                       (1) วรรณกรรมยอพระเกียรติและสดุดีวีรชน ที่มีเนื้อหาจากเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ไทย อาทิ
                ลิลิตตะเลงพ่าย ลิลิตดั้นสดุดีบ้านบางระจัน (2) วรรณกรรมที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสงครามในประวัติศาสตร์ อาทิ
                ไทยรบพม่า โคลงมังทราตีเชียงใหม่ (3) วรรณกรรมที่มีเนื้อหาอิงพงศาวดารหรือมหากาพย์ของประเทศเพื่อน

                บ้าน อาทิ รามเกียรติ์ มหาภารตยุทธ์ สามก๊ก ราชาธิราช (4) วรรณกรรมที่ผู้แต่งมุ่งสอนคติธรรมในเรื่องใด
                เรื่องหนึ่ง โดยใช้สถานการณ์สงครามสื่อความคิด เช่น บทละครรําเรื่องพระร่วง สามัคคีเภทคําฉันท์
                (5) วรรณกรรมที่สะท้อนข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการทําสงคราม เช่น สงครามป้อมค่ายประชิด นิทาน

                ทหารเรือ และ (6) วรรณกรรมที่มีเนื้อหาทํานองปลุกใจ ได้แก่ บทละครพูดของหลวงวิจิตรวาทการ เป็นต้น

                       2) วรรณกรรมที่มีการสงครามแทรกอยู่ในเนื้อหา หมายถึง วรรณกรรมที่มีแก่นของเนื้อหาเกี่ยวกับ
                เรื่องอื่นๆ ที่มิใช่การรบ เช่น ความรัก การสั่งสอนคุณธรรม และเรื่องประโลมโลกต่างๆ แต่ในบางฉากหรือบาง

                ตอนของเรื่องมีการทําสงครามแทรกอยู่ ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มต่างๆ ตามที่มาของเนื้อหาและวัตถุประสงค์ในการ
                แต่งได้แก่


                       (1) วรรณกรรมยอพระเกียรติ หมายถึง วรรณกรรมที่ผู้แต่งมีวัตถุประสงค์เพื่อยกย่องสรรเสริญ และ
                เทิดทูนพระมหากษัตริย์ เช่น โคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โคลงเฉลิมพระเกียรติพระ

                เจ้ากรุงธนบุรี (2) วรรณกรรมที่มีเนื้อหาจากเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ เช่น พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ
                อักษรนิติ์ ลําดับกษัตริย์กรุงเก่าคําฉันท์ และ (3) วรรณกรรมที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรักที่เป็นสาเหตุของการ
                ทําสงคราม อาทิ ลิลิตพระลอ ขุนช้างขุนแผน อิเหนา เป็นต้น

                       จากการศึกษาและแบ่งวรรณกรรมไทยที่เกี่ยวกับการสงครามของกุลนรีข้างต้นนั้น ไม่พบว่ามีการ
                กล่าวถึงวรรณกรรมที่กล่าวถึงสงครามโดยที่เนื้อหาเป็นไปในทํานอง “กาพย์กลอนแห่งความคิด”  แต่อย่างใด
                เพราะจะเห็นได้ว่าลักษณะที่ปรากฎนั้น เป็นภาพสงครามในประวัติศาสตร์ หรือฉากสงครามในเรื่องเล่าเท่านั้น

                นักเขียนหรือกวีส่วนใหญ่จะเป็นผู้เล่าเรื่องแบบไม่มีส่วนร่วมกับเรื่อง เป็นผู้เล่าเรื่องแบบไม่แสดงทัศนะของตน
                (impersonal narrator) มากกว่าจะเป็นผู้เล่าเรื่องแบบเป็นผู้ประสบเหตุหรือแสดงความคิดเห็น อารมณ์

                ความรู้สึกต่อเหตุการณ์สงครามที่เกิดขึ้น  แต่ต่อมาเมื่อไทยได้รับอิทธิพลทางด้านวรรณกรรมมาจากตะวันตก
                ทําให้วรรณกรรมมีลักษณะของ “กาพย์กลอนแห่งความคิด”  ซึ่งจะพบว่ากวีนิพนธ์สงครามจะมีลักษณะของ

                การแสดงความคิดเห็นอยู่ด้วย บทกวีกลายเป็นพื้นที่หรือเครื่องมือในการแสดงความคิดเห็นของนักเขียนหรือ
   164   165   166   167   168   169   170   171   172   173   174