Page 168 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 168
วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา 167
ความสะเทือนใจขึ้น จึงเกิดวรรณกรรมกลุ่มที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสงครามตามมา วรรณกรรมกลุ่มนี้ ถูกสร้างขึ้น
ด้วยคนหลายกลุ่ม ทั้งทหารและผู้ประสบเหตุ ซึ่งส่วนใหญ่จะเขียนถึงเรื่องราวของสงครามในลักษณะของ
บันทึกความทรงจํา (memoir) หรืองานเขียนของผู้ได้รับผลกระทบจากสงคราม รวมไปถึงงานของนักเขียน
หรือกวีที่สนใจในประเด็นเรื่องสงคราม นักเขียนหรือกวีร่วมสมัยกับเหตุการณ์สงครามแต่ละครั้ง และนักเขียน
หรือกวีในยุคต่อมาด้วย
วรรณกรรมที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสงครามปรากฏในบรรณพิภพสืบเนื่องมานาน อาทิ มหากาพย์ Iliad
ของ Homer, Henry V ของ Shakespeare, War and Peace ของ Tolstoy หรือ The Red Badge of
Courage ของ Crane เป็นต้น เมื่อเกิดเหตุการณ์สงครามขึ้นในแต่ละครั้ง ก็จะเกิดวรรณกรรมที่มีเนื้อหาสืบ
เนื่องจากสงครามในครั้งนั้นๆ อาทิ วรรณกรรมที่มีเนื้อหากล่าวถึงสงครามและการล้างเผ่าพันธุ์ (Holocaust)
ในยุโรประหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เช่น Anne Frank เขียนเรื่อง Diary of Anne Frank หรือผลงานของ
Elie Wiese เรื่อง Night ส่วน Helen Lewis ก็เขียนเรื่อง A Time to Speak เป็นต้น (อนงค์นาฏ เถกิงวิทย์,
2551) นอกจากนี้ยังมีวรรณกรรมที่มีเนื้อหาแสดงถึงปัญหาของสตรีที่เขียนขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อาทิ
“สายใย” (Juita, 1956) ของ อะริโยะฌิ ซะวะโกะ (Ariyoshi Sawako) “ปูสามตัว” (Sambiki no Kani,
1967) ของ โอบะ มินะโกะ (Ōba Minako) หรือ “บ้านแตก” (Shokutaku no Nai lie, 1979) ของเอ็นชิ
ฟุมิโกะ (Enchi Fumiko) (มณฑา พิมพ์ทอง, 2547) ส่วนวรรณกรรมที่กล่าวถึงการล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว
(Jewish Holocaust Literature) ก็ปรากฏเช่นกัน เช่น งานของ Kertész Imre เรื่อง Fateless และ The
Holocaust As Culture: Three Lectures (อนงค์นาฏ เถกิงวิทย์, 2551) และยังมีวรรณกรรมที่กล่าวถึง
สงครามเวียดนาม ซึ่งก่อให้เกิด Vietnam War Literature ได้แก่ Fields of Fire ของ James Webb ส่วน
James Fenton กวีชาวอเมริกัน เขียน โคลง “Out of the East” เป็นต้น วรรณกรรมที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ
สงครามเหล่านี้อาจเรียกว่าคือ “วรรณกรรมการสงคราม” ก็ได้
ในบรรดาการปรากฏของสงครามในวรรณกรรมที่มีความหลากหลายนั้น มีวรรณกรรมอยู่ประเภท
หนึ่งที่เรียกว่า “กวีนิพนธ์สงคราม” (War Poetry) ซึ่งเป็นคําเรียกกวีนิพนธ์ที่ผู้ประพันธ์ใช้เรื่องราวเกี่ยวกับ
สงครามเป็นหัวข้อสําคัญในการแต่งกวีนิพนธ์สงครามเรื่องแรกของโลกมีขึ้นเมื่อประมาณ 900 ปีก่อน
คริสตกาล คือ มหากาพย์ Iliad ของ Homer กวีชาวกรีก แนวคิดของกวีนิพนธ์สงคราม สนับสนุนสงคราม
และเชื่อมั่นในความชอบธรรมในการทําสงครามของมนุษย์ แนวคิดเช่นนี้มีเรื่อยมาจนกระทั่งก่อนสงครามโลก
ครั้งที่ 1 หลังจากนั้นภาพลักษณ์ใหม่ของการทําสงครามที่มีแต่ความโหดร้ายทารุณ มีความตายอันน่า
สยดสยองก็เข้ามาแทนที่แนวคิดเดิมจนกลายเป็นแนวคิดหลักของกวีนิพนธ์สงครามในที่สุด (Calder, 2000:
2, 7 อ้างถึงใน วรมาศ ยวงตระกูล, 2547: 1, 4)