Page 146 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 146
วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา 145
เสนออาจจะสามารถมองได้ว่าเป็นการพยายามให้คุณค่าใหม่กับแนวคิดมนุษยนิยมผ่านจุดยืนของ
“การต่อต้านลัทธิอํานาจนิยม” (anti-totalitarisme) ไม่ว่าจะแฝงมาในรูปแบบใด
ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่ไม่น่าแปลกใจเลยหากตัวละครในงานวรรณกรรมของเขามักจะเป็น “นักโทษ”
ที่ถูกจองจําเพราะท้าทายต่อ “อํานาจ” (การเมือง โรคระบาดหรือกฎเกณฑ์ของสังคม) พวกเขาจะถูกจองจํา
ไม่เพียงแต่ในห้องขังของทัณฑสถานอย่างในนวนิยาย คนนอก (L‘Étranger) เท่านั้น หากสถานที่ต่างๆ ไม่ว่า
จะเป็นเมืองแอลเฌใน คนนอก เมืองโอรองใน กาฬวิบัติ (La Peste) หรือเมืองอัมสเตอร์ดัมใน มนุษย์สองหน้า
(La Chute) ล้วนแต่ทําหน้าที่เป็น “ห้องขัง” ทั้งสิ้น การถูกจองจําในอาณาเขตทางกายภาพนี้สะท้อนการถูก
จองจําภายในตนเองหรือ “การจองจําเชิงอัตภาวะวิสัย”(subjective incaceration) (Doubrovsky, 1960: 87)
ภายในอาณาบริเวณที่จํากัดของภาวะของการมีอยู่นั่นก็คือการแสดงให้เห็นถึงข้อจํากัดของภาวะการเป็น
มนุษย์นั่นเอง
ชีวิตไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในห้องขัง หากแต่มันเป็นกรงขังโดยตัวของมันเอง
คุกนี้มี “กําแพง” ที่ไม่สามารถปีนข้ามได้: ความตาย (Doubrovsky, 1960: 87)
แต่ “การขบถ” ก็สามารถเกิดขึ้นได้และจะต้องเกิดขึ้น แม้จะภายในพื้นที่อันจํากัดนี้ก็ตาม ความเรียง
“ว่าด้วยเรื่องกิโยติน” นี้สอดรับกับจุดยืนทางความคิดต่อต้านลัทธิอํานาจนิยมซึ่งแฝงตัวและเป็นเครื่องมือ
ให้กับอํานาจรัฐ ระบอบยุติธรรมและจารีตทางสังคม
บทความนี้มุ่งสํารวจบทบาทและความชอบธรรมของโทษประหารชีวิตในสังคมฝรั่งเศส
โดยผ่านมุมมองและหลักคิดของกามูส์ซึ่งมีจุดยืนต่อต้านโทษนี้อย่างชัดเจน เพื่อนํามาสู่คําถามที่ว่า อะไร
คือหน้าที่ที่แท้จริงของโทษประหารชีวิตในสังคมฝรั่งเศสหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ในท้ายที่สุดเราจะพบ
ว่าโทษสูงสุดนี้ไม่ได้ทําหน้าที่ในการเป็นเครื่องมือลดแรงจูงใจในการกระทําผิดของคนในสังคมอย่างที่
ฝ่ายสนับสนุนมักจะนํามากล่าวอ้างเสมอ ความชอบธรรมของโทษนี้จึงไม่ได้มาจากบทบาทในด้านความ
ยุติธรรมของมัน หากแต่โทษนี้ได้ถูกทําให้ชอบธรรมจากการทําหน้าที่อื่นในสังคมโดยผ่านมายาคติที่ถูก
สร้างขึ้นจากเหตุผลทางประวัติศาสตร์และทางอุดมการณ์ทางการเมือง
จากความทรงจําสู่จุดยืนทางความคิด: การก่อรูปของวาทกรรมว่าด้วยเรื่องกิโยติน
กามูส์เริ่มต้นความเรียงบทนี้ด้วยการเล่าเรื่องราวในอดีตจากความทรงจําเกี่ยวกับบิดาของเขาซึ่งได้
เดินทางไปชมการประหารชีวิตนักโทษคนหนึ่งที่กระทําการสังหารโหดครอบครัวชาวไร่ทั้งครอบครัว
บิดาของเขากลับบ้านมา “อย่างรวดเร็ว ด้วยสีหน้าสะเทือนใจ ไม่ยอมพูดจาใดๆ ล้มลงนอนบนเตียงชั่วขณะ