Page 143 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 143

142      แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน



                มาตรการนี้ถือเป็นมาตรการเดียวที่รัฐฝรั่งเศสได้ออกเกี่ยวกับโทษประหารชีวิตในช่วงต้น  ศตวรรษ  ที่ 20

                (Bloch-Michel, 1979 [1957]: 207)

                       นับตั้งแต่รุ่งอรุณของการปฏิวัติฝรั่งเศสเป็นต้นมา คมมีดของกิโยตินซึ่ง
                                                           4
                ถือว่าเป็น “วิธีประหารชีวิตที่รวดเร็วและมีมนุษยธรรม”  ได้สําแดงประสิทธิภาพ
                ของมันให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ จนกระทั่งนักโทษคนสุดท้ายที่ถูกประหารชีวิต
                            5
                ในปี ค.ศ.1977   และในวันที่ 30  กันยายน ค.ศ.1981  รัฐบัญญัติยกเลิกโทษ
                ประหารชีวิตก็ได้ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาฝรั่งเศสภายใต้ชื่อ เรียกทั่วไปว่า
                “รัฐบัญญัติบาแดงแตร์” (la Loi Badinter) ซึ่งได้ตั้งตามชื่อของรัฐมนตรีว่าการ

                กระทรวงยุติธรรม โรแบร์ บาแดงแตร์ (Robert Badinter) ผู้เสนอร่างฯ
                                                                                       พาดหัวข่าว
                       ในปี ค.ศ. 1981  นั้น ฝรั่งเศสถือเป็นประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปที่   “ยกเลิกโทษประหารชีวิต”
                ยกเลิกโทษประหารชีวิตเป็นประเทศสุดท้าย  และถือเป็นหนึ่งในประเทศยุโรป   ในหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์
                                                      6
                ตะวันตกประเทศท้ายๆ ที่ยกเลิกโทษประหารชีวิต                       Le Figaro ฉบับวันที่ 19-20
                                                                                    กันยายน ค.ศ. 1981


                   “คนขบถ” อัลแบร์ กามูส์

                       อัลแบร์ กามูส์ (Albert Camus) เกิดที่ประเทศแอลจีเรียในปี ค.ศ. 1913 ด้วยความสามารถในการ

                ถ่ายทอดความรู้สึกคลื่นเหียนของยุคสมัยผ่านลีลาตัวอักษรที่เต็มไปด้วยพลังระหว่างความพอดีและความ
                ชัดแจ้ง งานประพันธ์ของเขาโดยเฉพาะนวนิยายสําคัญอย่าง  คนนอก (L‘Étranger, 1942)  หรือ กาฬวิบัติ

                (La Peste, 1947) และความเรียงอย่าง คนขบถ (L’Homme révolté, 1951) จึงมีส่วนสําคัญในการร่วม
                                                    7
                สร้างความเป็นตํานานให้กับนักเขียน “เท้าดํา”  คนนี้ เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมในปี ค.ศ.1957






                       4  “ce moyen rapide et humain de tuer les candamnés” (Camus, 1979 [1957]: 127).
                       5  นักโทษประหารชีวิตคนสุดท้ายของฝรั่งเศสคือ อามิดา ดฌองดูลิ (Hamida Djandouli) ถูกประหารชีวิตวันที่ 10
                กันยายน ค.ศ. 1977 ที่มาร์เซยย์ (Marseille).

                       6   สวิสเซอร์แลนด์และสหราชอาณาจักรยกเลิกโทษประหารชีวิตในปี ค.ศ. 1992  และ  ค.ศ. 1998  ตามลําดับ
                ดูรายละเอียดรายชื่อประเทศที่ยกเลิกและยังคงโทษประหารชีวิตได้ [ออนไลน์]
                http://www.ladocumentationfrancaise.fr/dossiers/abolition-peine-mort/monde.shtml [29 กรกฎาคม 2553].
                       7  “เท้าดํา” (Les  Pieds-Noirs)  เป็นชื่อเรียกที่ไม่เป็นทางการสําหรับคนฝรั่งเศสที่ไปอาศัยอยู่ในประเทศในแถบ
                แอฟริกาเหนือจนกระทั่งถึงช่วงปลดปล่อยอาณานิคม.
   138   139   140   141   142   143   144   145   146   147   148