Page 148 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 148
วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา 147
หลังจากท่อนบทของการประณาม กระแสของความคิดก็ค่อยๆ เคลื่อนตัวสู่การระบุสาเหตุของการ
ดํารงอยู่ของโทษสูงสุดนี้
“เนื่องมาจากความไมใส่ใจไยดีและความไม่รู้ไม่เข้าใจที่มีอยู่ในความคิดเห็นสาธารณะ
ซึ่งมักจะตอบโต้ [เรื่องโทษประหารชีวิต] ด้วยประโยคที่มีลักษณะเป็นธรรมเนียมพิธีที่ฝังหัว
พวกเขามาเท่านั้น เมื่อจินตนาการหลับใหล ความหายของคําก็ค่อยๆ เคลื่อนตัวออกจากคํา:
เหล่าประชาชนผู้หูหนวกบันทึกคําพิพากษาลงโทษบุคคลคนหนึ่งอย่างไม่แยแส แต่ถ้าเรา
นําเครื่องมือ [กิโยติน] ออกมาแสดง ให้พวกเขาได้สัมผัสกับไม้และเหล็ก ให้พวกเขาสดับเสียง
ของศีรษะที่หลุดลง เมื่อนั้น จินตนาการสาธารณะที่ได้ถูกปลุกให้ตื่นขึ้นโดยเฉียบพลัน
20
ก็จะต้องปฏิเสธทั้งคําศัพท์และทัณฑกรรมในเวลาเดียวกัน”
จาก “ปฐมบท” ของความเรียงนี้ เราจะเห็นถึงความสัมพันธ์อันแนบแน่นที่ส่งอิทธิพลต่อกันระหว่าง
การใช้ภาษาเพื่อนิยามสิ่งๆ หนึ่งกับความเข้าใจของผู้คนต่อสิ่งๆ นั้น กามูส์เริ่มด้วยการวิจารณ์การใช้ภาษาใน
สังคมฝรั่งเศสเมื่อกล่าวถึงโทษประหารชีวิต เพื่อนําไปสู่การประณามการยอมรับโทษทัณฑ์นี้ของคนในสังคม
โดยสดุดี นี่นับเป็นการวิพากษ์ “การก่อรูปของวาทกรรมเรื่องโทษประหารชีวิต” ช่วงหลังสงครามโลกใน
สังคมฝรั่งเศสซึ่งกระทําผ่านการสร้างชุดคําที่ทําหน้าที่ในการบรรยาย “ฆาตโทษ” นี้ ชุดคําเหล่านี้ได้ถูกยก
ระดับให้กลายเป็น “วัจนธรรมเนียม” ที่มีผลต่อจินตนาการและการทําความเข้าใจโทษนี้ในความคิดเห็น
สาธารณะและความคิดเห็นสาธารณะนี้ย้อนกลับมาเป็นเงื่อนไขให้กับวาทกรรมเรื่อง “ความจําเป็น” ของการ
คงไว้ซึ่งกิโยติน ถือเป็นการสร้างและตอกย้ําความชอบธรรมให้กับอํานาจรัฐในท้ายที่สุด
ในเชิงวรรณศิลป์ เราจะเห็นได้ว่าการโต้แย้งเรื่องกิโยตินของกามูส์ที่เปิดฉากด้วยความทรงจําในอดีต
หาได้มีน้ําเสียงโศกเศร้าเต็มไปด้วยอารมณ์อ่อนไหวไม่ หากแต่มีจังหวะและพัฒนาการที่เต็มด้วยความดุดัน
และเข้มข้นทั้งในเชิงภาษาและในเชิงความคิด ดังนั้นหลังจากที่ได้ชี้ให้เห็นถึง “มายาคติ” ที่สังคมมีต่อกิโยติน
เขาจึงสามารถเข้าสู่แก่นของข้อโต้แย้งว่าด้วยกิโยตินว่า “แทนที่จะเริ่มต้นด้วยการกล่าวว่าโทษประหารชีวิต
20 “par l’insouciance ou l’ignorance de l’opinion publique qui réagit seulement par les phrases
cérémonieuses qu’on lui a inculquées. Quand l’imagination dort, les mots de vident de leur sens : un
peuple sourd enregistre distraitement la condamnation d’un homme. Mais qu’on montre la machine,
qu’on fasse toucher le bois et le fer, entendre le bruit de la tête qui tombe, et l’imagination publique,
soudain réveillée, répudiera en même temps le vocabulaire et le supplice.” (Camus, 1979 [1957]: 123).