Page 145 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 145
144 แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน
“ว่าด้วยเรื่องการแขวนคอ” (“Réflexions sur la potence”) ของอาร์เธอร์ โคสต์เลอร์ (Arthur Koestler)
นักคิดและนักเคลื่อนไหวชาวอังกฤษเชื้อสายฮังกาเรียนผู้ก่อตั้ง “โครงการรณรงค์แห่งชาติเพื่อการยกเลิกโทษ
ประหารชีวิต” (The National Campaign for the Abolition of Capital Punishment) ในประเทศ
อังกฤษร่วมตีพิมพ์ด้วย
ความเรียงบทนี้ถูกเขียนขึ้นท่ามกลางสถานการณ์ที่ร้อนระอุของกระแสเรียกร้องเอกราชใน
อาณานิคมต่างๆ ของฝรั่งเศสและท่ามกลางความรุนแรงที่กระทําโดยทั้งฝ่ายรัฐฝรั่งเศสและฝ่ายผู้เรียกร้อง
10
เอกราชโดยเฉพาะในกรณีของแอลจีเรีย หากมองอย่างผิวเผินจุดยืนของกามูส์ในช่วงนั้นมีลักษณะ
คลุมเครืออย่างมาก กล่าวคือหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เขาเข้าร่วมกับกลุ่มฝ่ายซ้ายทางการเมืองและกลุ่ม
11
นักคิดแนวอัตถิภาวนิยมก่อนที่จะแยกตัวออกมาในช่วงต้นทศวรรษ 1950 เนื่องจากไม่เห็นด้วยก ับระบบของ
พรรคและระบบความคิดของแนวปรัชญานี้ต่อกรณีของสงครามแอลจีเรีย เขายังถูกฝ่ายขวาทางการเมือง
โจมตีด้วยเช่นกันเนื่องมาจากท่าทีประนีประนอมที่เขามีต่อชาวอาหรับผู้เรียกร้องเอกราช กระนั้นก็ตามจุดยืน
ของเขาก็ซับซ้อนขึ้นอีกเพราะแม้ว่าเขาจะเห็นใจชาวแอลจีเรียเพียงใด เขาก็เลือกที่จะต่อต้านยุทธวิธี
ก่อการร้ายที่กลุ่มผู้เรียกร้องเอกราชเลือกใช้ และเขายังเห็นด้วยกับแนวคิดเรื่องความชอบธรรมของรัฐฝรั่งเศส
เหนือดินแดนแอฟริกาเหนืออีกด้วย (Aciman, 1997: 683-684)
อย่างไรก็ตาม เราสามารถที่จะทําความเข้าใจจุดยืนที่ซับซ้อนของกามูส์นี้ได้ หากเราพิจารณาจุดยืน
ทางความคิดของเขาดังเช่นที่ได้กล่าวไปแล้ว งานประพันธ์ของกามูส์ไม่ได้ต้องการนําเสนอ“โครงการทาง
ปรัชญา” ที่เป็นระบบ หากแต่ต้องการถ่ายทอดประสบการณ์ของชีวิต ทัศนคติต่อภาวะของการเป็นมนุษย์
และจุดยืนทางศีลธรรมหลังการพังทลายของระบบคุณค่าที่โลกตะวันตกเคยยึดถือมาตลอด สิ่งที่เขาพยายาม
10 ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1946 จนกระทั่งปี ค.ศ. 1954 ฝรั่งเศสทําสงครามกับเวียดนาม หลังจากการสู้รบอย่างเข้มข้น
ถึงสองเดือนเต็มฝรั่งเศสพ่ายแพ้ต่อเวียดมินห์ในสมรภูมิรบเดียนเบียนฟู นํามาสู่การลงนามในข้อตกลงในประการชุมเจนีวา (les
Accords de Genève) เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 1954 แบ่งเวียดนามเป็นสองส่วน ในขณะเดียวกันสถานการณ์ใน
แอลจีเรียก็ทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยในวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1954 เกิดระเบิดหลายลูกกระจัดกระจายทั่วประเทศ
แอลจีเรีย รัฐบาลฝรั่งเศสตอบกลับด้วยท่าทีที่แข็งกร้าวและไม่ประนีประนอมนํามาซึ่งความรุนแรงหลายระลอก นับตั้งแต่การ
ปราบปรามกลุ่มแบ่งแยกดินแดน การประกาศ พ.ร.ก. ฉุกเฉินในเดือนเมษายนปี ค.ศ.1955 และการสังหารครอบครัวชาวยุโรป
โดยกองกําลังเรียกร้องเอกราชในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1955 ฯลฯ ในส่วนของสถานการณ์ต่างประเทศนั้นฝรั่งเศสเข้าสู่ช่วง
ของสงครามเย็นเช่นเดียวกับมหาอํานาจอื่นๆ ในยุโรปตั้งแต่ปี ค.ศ. 1947 (Zéraffa-Dray, 1992: 167-192).
11 คนขบถ (L’Homme révolté) ถือเป็นงานอื้อฉาวที่สร้างแรงสั่นสะเทือนให้กับวงการปรัชญา วรรณกรรมและ
การเมืองอย่างมาก กามูส์เสนอให้แยกระหว่าง “การขบถ” (la révolte) และ “การปฏิวัติ” (la révolution) ซึ่งถือเป็น
รูปแบบที่ถดถอยของการขบถ และเป็นรูปแฝงของการทําให้มนุษย์กลายเป็นทาส (la servitude) ข้อเสนอนี้ทําให้กลุ่มนักคิด
อัตถิภาวนิยมและกล ุ่มฝ่ายซ้ายผู้เรียกร้องการปฏิวัติขับไล่กามูส์ออกจากกลุ่ม.