Page 147 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 147
146 แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน
12
แล้วทันใดก็ เริ่มอาเจียนออกมา” จากเหตุการณ์เชิงอัตชีวประวัตินี้ กามูส์เปิดประเด็นเรื่องโทษประหาร
ชีวิตด้วยการตั้งคําถามกับข้ออ้างที่ผู้คนในสังคมมักจะนํามาใช้สร้างความชอบธรรมให้กับโทษสูงสุดนี้ว่าเป็น
13
“ความจําเป็นอันน่าเศร้า” เขายังชี้ให้เห็นว่าชุดภาษาที่หมุนเวียนในสังคมเพื่อบรรยายการประหาร ชีวิตนั้นเป็น
14
“การใช้ภาษาเชิงพิธีกรรมรูปแบบหนึ่งซึ่งถูกลดทอนให้เหลือเพียงชุดคําที่ซ้ําซากจําเจ” นั่นหมายความว่า
ในสังคมฝรั่งเศสที่ผ่านการพัฒนาขัดเกลาเชิงวัฒนธรรม การพูดถึงโทษประหารชีวิตก็ เหมือนกับการพูดถึง
15
โรคร้ายแรงคือเราไม่ “กล้า” พูดถึงมันอย่างชัดเจนตรงไปตรงมา แต่ต้องพูดผ่านโวหารที่เรียก ว่า “การเกลื่อนคํา”
16
อารัมภบทของกามูส์ นี้ทําหน้าที่ในการแสดง “จุดยืนของน้ําเสียงและสําเนียง” ที่เขาเลือกที่จะใช้ใน
ความเรียงนี้ ดังที่เขากล่าวชัดเจนว่า “ในทางตรงกันข้าม ความตั้งใจของข้าพเจ้าคือ การพูด ถึงมัน [โทษประหาร
17
ชีวิต] อย่างดิบๆ ตรงไปตรงมา”
ในขณะเดียวกันกับที่เขาแสดงจุดยืนเชิงวรรณศิลป์นี้ เขายังได้ทําการ “ประณาม” โทษนี้ผ่านกลุ่มคํา
กล่าวโทษอย่างแยบยล ไม่ว่าจะเป็น “แต่เมื่อความเงียบหรือกลลวงของการใช้ภาษามีส่วนในการช่วยคงไว้ซึ่ง
การใช้อํานาจในทางที่ผิด [...] หรือ เคราะห์กรรมที่ควรจะได้รับการเยียวยาไม่มีทางเลือกอื่นใดเหลืออยู่นอก
เสียจากการกล่าวถึงอย่างชัดเจนตรงไปตรงมา และการประจานความน่ารังเกียจที่หลบซ่อนตัวอยู่ภายใต้เสื้อ
18
คลุมของคํา” , การกล่าวว่าโทษประหารชีวิตเป็น “พิธีกรรมล้าหลัง” และถูกจัดเก็บใน “คลังแสงสรรพาวุธ
19
ของการลงทัณฑ์” ฯลฯ
12 “qu’il rentra en coup de vent, le visage bouleversé, refusa de parler, s’étendit un moment sur
le lit et se mit tout d’un coup à vomir.” (Camus, 1979 [1957]: 121).
13 “une regrettable nécessité” (Camus, 1979 [1957]: 122).
14 “une sorte de langage rituel, réduit à des formules stéréotypées” (Camus, 1979 [1957]: 122).
15 “euphémisme” (Camus, 1979 [1957]: 122). พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรม อังกฤษ-ไทย ของ
ราชบัณฑิตย สถานให้ความหมายของ “การเกลื่อนคํา” ไว้ว่า “การใช้คําพูดที่ดีเพื่อกลบเกลื่อนความหมายร้าย เพื่อหล ีกเลี่ยง
คํากล่าวตรงๆ ที่แสลงหูในเรื่องบางเรื่องที่ละเอียดอ่อนหรือต้องห้าม”.
16 ความเรียง “ว่าด้วยเรื่องกิโยติน” ฉบับนี่เป็นบทความยาวติดต่อกันทั้งหมด 49 หน้า ไม่ได้มีการแบ่งเป็นตอน
หรือเป็นบทแต่อย่างใด ดังนั้นการแบ่งความเรียงเป็นท่อนบทต่างๆ เป็นการเรียบเรียงขึ้นโดยผู้เขียนเพื่อง่ายต่อการ
วิเคราะห์และวิพากษ์; คําว่า “กิโยติน” ที่ใช้ในบทความนี้ หมายถึง “โทษประหารชีวิต” หรือ “โทษสูงสุด”.
17 “Mon intention est au contraire d’en parler crûment.” (Camus, 1979 [1957]: 122).
18 “Mais lorsque le silence, ou les ruses du langage, contribuent à maintenir un abus [...] ou un
malheur qui peut être soulagé, il n’y a pas d’autre solution que de parler clair et de montrer l’obscénité
qui se cache sous le manteau des mors.” (Camus, 1979 [1957]: 123). การเน้นเป็นของผู้เขียนบทความ
19 “rite primitif”, “arsenal de répression” (Camus, 1979 [1957]: 123).