Page 149 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 149

148      แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน



                เป็นเรื่องจําเป็น ดังนั้นเราจึงไม่จําเป็นต้องพูดถึงมันเลย เราต้องเริ่มต้นด้วยการกล่าวถึงสิ่งซึ่งโทษนี้เป็นจริงๆ
                ต่างหาก และพูดต่อไปอีกว่า ในรูปแบบที่มันเป็นนี้ เราจําเป็นต้องมองว่ามันเป็นเรื่องจําเป็นจริงๆ หรือไม่” 21


                       เขาปิดฉากแรกของความเรียงด้วยการแสดงจุดยืนที่ชัดเจนว่าเขาต่อต้านโทษและเรียกร้อง “การยก
                                                                                              23
                                          22
                เลิกโทษประหารชีวิตอย่างทันที”   ด้วย “ความเชื่อมั่น”  ว่ามัน “ไม่มีประโยชน์”  และ “เป็นโทษ”   และ
                ตอกย้ําด้วยว่า “โทษประหารชีวิตทําให้สังคมของเราสกปรกโสมมและผู้ที่เห็นด้วยกับมันไม่สามารถอธิบายถึง
                                                      24
                ความชอบธรรมของมันได้ด้วยความมีเหตุมีผล”   โดยขยายความว่าท่าทีของเขาต่อกิโยตินนี้ไม่ได้มาจาก
                “อารมณ์อ่อนไหว”  ในทํานองเดียวกันกับท่าทีของนักสิทธิมนุษยชนซึ่ง “ผสมปนเประหว่างคุณค่ากับความ
                          25
                รับผิดชอบ”   เขาเชื่อว่า “ความชอบธรรมสูงสุดของกฎหมายมาจากผลดีที่กฎหมายได้ทําให้เกิดหรือไม่ได้ทํา
                                                                          26
                ให้เกิดแก่สังคม ณ ที่ใดที่หนึ่งและ ณ เวลาใดเวลาหนึ่งเฉพาะเจาะจงลงไป”

                       ปฐมบทของความเรียง “ว่าด้วยเรื่องกิโยติน”  นี้จึงเป็นการประกาศอุดมการณ์ที่กามูส์มีต่อความ

                ยุติธรรมต่อสังคมและต่อมนุษย์


                  วิพากษ์เหตุผลลวงของโทษประหารชีวิต

                       กามูส์เริ่มต้นการโต้แย้งด้วยการยกเหตุผลหลักของกลุ่มผู้สนับสนุนให้คงโทษประหารชีวิตไว้ นั่นก็คือ

                                                     27
                เหตุผลเรื่อง “ความเป็นตัวอย่างของโทษทัณฑ์”  กล่าวคือจุดประสงค์ของโทษประหารชีวิตที่มักจะถูกนํามา
                อ้างคือการ “ทําให้กลุ่มคนที่อาจจะเลียนแบบขวัญหนีดีฝ่อด้วยตัวอย่างที่น่าสยดสยอง สังคมไม่ได้แก้แค้น









                       21  “Loin de dire que la peine de mort est d’abord nécessaire et qu’il convient ensuite de n’en
                pas parler, il faut parler au contraire de ce qu’elle est réellement et dire alors si, telle qu’elle est, elle
                doit être considérée comme nécessaire.” (Camus, 1979 [1957]: 123).
                       22  “pour une abolition immédiate de la peine capitale” (Camus, 1979 [1957]: 124).
                       23  “conviction”, “inutile”, “nuisible” (Camus, 1979 [1957]: 123).
                       24  “la peine de mort souille notre société et ses partisans ne peuvent la justifier en raison.”

                (Camus, 1979 [1957]: 124).
                       25  “sensiblerie”, “les valeurs et les responsabilités se confondent” (Camus, 1979 [1957]: 124).
                       26  “Mais la loi trouve sa dernière justification dans le bien qu’elle fait ou ne fait pas à la société
                d’un lieu et d’un temps donnés.” (Camus, 1979 [1957]: 124).
                       27  “l’exemplarité du châtiment” (Camus, 1979 [1957]: 124).
   144   145   146   147   148   149   150   151   152   153   154