Page 141 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 141
140 แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน
“โทษประหารชีวิตคืออะไร?
โทษประหารชีวิตคือสัญลักษณ์แห่งความป่าเถื่อนที่พิเศษและเป็นนิรันดร์ (เสียงฮือฮา)
ที่ใดก็ตามที่มีการตราโทษประหารชีวิต ที่นั่นถูกครอบงําโดยความป่าเถื่อน
ที่ใดก็ตามที่โทษประหารชีวิตไร้ที่ยืน ที่นั้นปกครองโดยอารยธรรม”
สุนทรพจน์ของวิกตอร์ อูโก (Victor Hugo) ในสภาแห่งชาติ ค.ศ. 1848
อัลแบร์ กามูส์ (ค.ศ. 1913-1960)
บทนํา
โทษประหารชีวิตมีขึ้นในฝรั่งเศสตั้งแต่สมัยยุคกลางโดยมีข้อกําหนดและรูปแบบหลากหลายแตกต่าง
1
กันไปตามช่วงเวลาขึ้นอยู่กับลักษณะของอาชญากรรมและฐานันดรของผู้กระทําความผิด ในยุค“ระบอบเก่า”
(L’Ancien Régime) หรือยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ได้ยกเลิกการทรมานแต่ได้คงรูป
แบบการประหารชีวิตไว้สี่รูปแบบคือ ตัดศ ีรษะ แขวนคอ การขึงด้วยล้อและการเผาทั้งเป็น
หลังการปฏิวัติฝรั่งเศส (ค.ศ. 1789) ในวันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1791 ถือเป็นครั้งแรกที่มีการ
ถกเถียงอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับโทษประหารชีวิต ผ่านการเสนอร่างรัฐบัญญัติยกเลิกโทษสูงสุดนี้โดย
1 ตั้งแต่สมัยยุคศักดินา (ยุคกลาง) จนกระทั่งถึงการปฏิวัติฝรั่งเศส สังคมฝรั่งเศสเป็นสังคมที่มีการปกครองแบบ
ชนชั้นโดยแบ่งออกเป็นสามฐานันดรคือ ฐานันดรพระ (le Clergé) ฐานันดรขุนนาง (la Noblesse) และฐานันดรที่สาม
(le Tiers État) ซึ่งมีประมาณ 98 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมด สองฐานันดรแรกนั้นเป็นชนชั้นที่มีอภิสิทธิ์ทั้งทางด้านการ
ปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน จรัล ดิษฐาอภิชัย (2542: 21-34); ในการลงโทษประหารชีวิตก็เช่นกัน
การตัดศ ีรษะเป็นการลงทัณฑ์สําหรับฐานันดรขุนนางโดยเฉพาะ ฐานันดรที่สามไม่มีสิทธิ์ได้รับการลงโทษประหารชีวิตโดยวิธีนี้
(Bloch-Michel, 1979 [1957]: 176-180).