Page 142 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 142

วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา   141



                     เลอแปลติเยร์ เดอ แซงต์-ฟาร์โก (Lepeletier de Saint-Fargeau) ซึ่งเริ่มต้นอภิปรายในสภาด้วยคําถามว่า
                     “เราควรคงไว้หรือยกเลิกโทษประหารชีวิต?”  (Bloch-Michel, 1979 [1957]: 181) การอภิปรายและแปร

                     ญัตติกินเวลาทั้งหมดสามวันและจบลงด้วยการผ่านประมวลกฎหมายอาญาปี ค.ศ. 1791 โดยยังคงโทษประหาร

                                                     ชีวิตไว้แต่ได้กําหนดให้เหลือวิธีประหารชีวิตเพียงวิธีเดียว กล่าวคือ

                                                     ในมาตรา 3  ระบุว่า “ผู้ถูกตัดสินว่ามีความผิดจะต้องถูกตัดศ ีรษะ”
                                                     (Bloch-Michel, 1979 [1957]: 184)  และในวันที่ 25  เมษายน

                                                     ค.ศ. 1792 มีการใช้เครื่องมือที่เรียกว่า “กิโยติน” ในการประหาร
                                                     ชีวิตเป็นครั้งแรก จากนั้นเป็นต้นมากิโยตินก็ได้เริ่มทําหน้าที่ปลิด

                                                     ชีวิตผู้คนที่ต้องโทษประหารชีวิตทุกคนอย่างเท่าเทียมกันไม่ว่าเขา

                     การประหารด้วยกิโยตินในช่วงปฏิวัติฝรั่งเศส   จะมาจากฐานันดรใดๆ

                            ในช่วงศตวรรษที่ 19-20  การเคลื่อนไหวเรียกร้องของกลุ่มผู้ต่อต้านโทษประหารชีวิตยังคงดําเนิน
                                                               2
                     ต่อไป ดังเช่นในช่วงปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1848   ได้มีการเดินขบวนเรียกร้องการยกเลิกโทษประหาร
                     ชีวิต (Bloch-Michel, 1979 [1957]: 203) และว ิกตอร์ อูโก (Victor Hugo) นักประพันธ์ผู้โด่งดังได้เสนอร่างรัฐ
                     บัญญัติยกเลิกโทษประหารชีวิตเข้าสู่สภา หรือในปี ค.ศ. 1906  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมขณะนั้น

                     ได้เสนอร่างรัฐบัญญัติยกเลิกโทษประหารชีวิต และสื่อมวลชนได้จัดสํารวจความคิดเห็นสาธารณะปรากฏว่า

                     1,038,655  คน จากผู้ที่ทําประชามติทั้งหมด 1,412,347  คน สนับสนุนให้คงไว้ซึ่งโทษประหารชีวิต (Bloch-
                     Michel, 1979 [1957]: 206) ร่างรัฐบัญญัติฉบับนี้ได้ถูกนําเข้าพิจารณาในสภาอีกสองปีต่อมา  (ค.ศ. 1908) แต่ไม่
                     ผ่านการสนับสนุนจากเสียงส่วนใหญ่ในสภา


                                                                                                        3
                            ต่อมาในปี ค.ศ. 1939 ได้เกิดเหตุอื้อฉาวจากกรณีการประหารชีวิตของนักโทษไวด์มานน์ (Wiedmann)
                     ทําให้รัฐบาลฝรั่งเศสยกเลิกการประหารชีวิตในสถานท ี่สาธารณะ  และให้เปลี่ยนเป็นในทัณฑสถานแทน


                            2   การปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1848  เป็นการปฏิวัติมิใช่เพื่อต่อต้านระบอบการปกครองเท่านั้น  หากเป็นการ
                     ปฏิวัติทางสังคมและวัฒนธรรมด้วยเช่นกัน ประชาชนโดยเฉพาะผู้ใช้แรงงานในกรุงปารีสออกมาขับไล่กษัตริย์หลุยส์-ฟิลิปป์
                     (Louis-Philippe)  และเรียกร้องระบอบสาธารณรัฐ เหตุการณ์นี้จบลงที่การสละราชบัลลังก์ของหลุยส์-ฟิลิปป์และการ
                     สถาปนาสาธารณรัฐที่สอง (La Deuxième République).
                            3   ในวันที่ 17 มิถุนายน 1939 เออเฌน ไวด์มานน์ (Eugène  Weidmann)  ฆาตรกรหลายศพได้ถูกประหารชีวิต

                     โดยกิโยติน ที่เมืองแวร์ซายย์ (Versailles)  ผู้คนมากมายกระตือรือล้นเข้าชม “มหรสพแห่งความตาย” ครั้งนี้ภาพนิ่งและว ิดิโอ
                     ถูกเผยแพร่โดยสื่อมวลชน  พฤติกรรมของผู้เข้าชมการประหารชีวิตและบทความบรรยายบรรยากาศและขั้นตอนของการ
                     ประหารชีวิตอย่างละเอียดนี้  ทําให้รัฐบาลฝรั่งเศสตัดสินใจยกเลิกการประหารชีวิตในที่สาธารณะ  ดูวิดีโอบันทึกการประหาร
                     ชีวิตไวด์มานน์ได้ที่ [ออนไลน์] http://www.youtube.com/watch?v=pz98cNH5bJ4&has_verified=1 [20  กรกฎาคม
                     2553].
   137   138   139   140   141   142   143   144   145   146   147