Page 150 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 150

วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา   149



                     เพียงแต่สังคมต้องการป้องกันไว้ก่อนเท่านั้น จึงปลิดศีรษะทิ้งเพื่อให้ผู้เข้าแข่งขันเป็นฆาตกรในอนาคตได้อ่าน
                                                     28
                     อนาคตของพวกเขาและก้าวหันหลังกลับ”  แต่กามูส์กล่าวต่อไปว่าเหตุผลนี้ดูน่าเชื่อถือ แต่ในความเป็นจริง

                                เราจําเป็นต้องยอมรับว่า
                                1. สังคมไม่ได้เชื่อในความเป็นตัวอย่างของโทษประหารชีวิตตามที่สังคมเองยกมาอ้าง
                                2.  เราไม่สามารถพิสูจน์ได้เลยว่าโทษประหารชีวิตทําให้ฆาตรกรที่ตัดสินใจจะก่อ

                                  ฆาตรกรรมนั้นล้มเลิกความคิดได้แม้เพียงคนเดียว ในขณะที่มันชัดแจ้งว่า
                                  โทษนี้ไม่ได้มีผลใดๆ ต่ออาชญากรนับพันคน นอกจากผลในเชิงดึงดูดใจเสียอีก
                                3.  โทษประหารชีวิตเป็นการสร้างตัวอย่างที่น่าสะอิดสะเอียนในหลากหลายแง่มุม
                                                                    29
                                  โดยที่เราไม่สามารถจะประเมินผลของมันได้เลย

                     หลังจากนั้นกามูส์ก็เริ่มอภิปรายว่าเหตุใดสังคมจึงไม่เชื่อในความเป็นตัวอย่างของโทษสูงสุดนี้ โดยให้เหตุผลว่า
                                                                          30
                     หากสังคมเชื่อในสิ่งที่อ้างจริง สังคมจะต้อง “นําศีรษะที่ตัดออกแสดง”  ด้วยการโฆษณาเพื่อประกาศถึงความ
                     น่าสะพรึงกลัวของโทษนี้ ต้องให้โรงเรียนและสถาบันอุดมศึกษาได้อ่านทั้งบันทึกของผู้อยู่ในเหตุการณ์และ

                     รายงานทางการแพทย์ที่บรรยายสภาพของศพหลังการประหารชีวิต โดยเขาได้ยกตัวอย่างของบันทึกและ
                     รายงานเหล่านี้ที่บรรยายความน่าสยดสยองได้อย่างถึงแก่นหลายตัวอย่าง   ยิ่งไปกว่านั้น ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1939
                     เป็นต้นมา ไม่มีการประหารชีวิตนักโทษในที่สาธารณะอีกต่อไป เนื่องมาจากเหตุอื้อฉาวของกรณีไวด์มานน์

                     ตามที่ได้กล่าวไปแล้วในบทนํา  กามูส์ได้ยกกรณีนี้เพื่อเสริมการโต้แย้งข้ออ้างเรื่องความเป็นตัวอย่างของโทษนี้
                     โดยเขาย้ําว่ารัฐบาล “ประณามสื่อมวลชนว่าต้องการสรรเสริญสัญชาตญาณการมีความสุขที่เห็นผู้อื่นทรมาน

                     ของผู้อ่าน”

                            สําหรับกามูส์  เหตุต่างๆ  เหล่านี้ขัดแย้งอย่างมีนัยสําคัญกับข้ออ้างของกลุ่มที่สนับสนุนโทษในนาม
                     ของ “ความเป็นตัวอย่าง”  เพราะเพื่อให้ “ความน่าหวาดกลัว [...]  แปรเปลี่ยน ภายในตัวพวกเราทุกคนเป็น
                     พลังอันมืดบอดและรุนแรงเพียงพอที่จะสกัดกั้นความปรารถนาอันยากจะทนทานได้ในการก่อฆาตรกรรม ณ


                            28  “[...] pour intimider, par un exemple effrayant, ceux qui seraient tentés de les imiter: La
                     société ne se venge pas, elle veut seulement prévenir. Elle brandit la tête pour que les candidats au
                     meurtre y lisent leur avenir et reculent.” (Camus, 1979 [1957]: 125).
                            29  “[...] l’on était obligé de constater : 1 Que la société ne croit pas elle-même à l’exemplarité

                     dont elle parle; 2 Qu’il n’est pas prouvé que la peine de mort ait fait reculer un seul meurtrier, décidé à
                     l’être, alors qu’il est évident qu’elle n’a eu aucun effet, sinon de fascination, sur des milliers de criminels
                     ; 3 Qu’elle constitue, à d’autres égards, un exemple repoussant dont les conséquences sont
                     imprévisibles.” (Camus, 1979 [1957]: 125).
                            30  “elle montrerait les têtes” (Camus, 1979 [1957]: 125).
   145   146   147   148   149   150   151   152   153   154   155