Page 144 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 144
วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา 143
ก่อนจะจากโลกนี้ไปอย่างกะทันหันด้วยอุบัติเหตุทางรถยนต์ในปี ค.ศ. 1960 ทิ้งผลงานในรูปของบทความ
หนังสือพิมพ์ ความเรียง บทละครและนวนิยายไว้เบื้องหลัง ประหนึ่งเพื่อท้าทายและเย้ยหยันความตาย
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (1939-1945) ประเทศในโลกตะวันเข้าสู่วิกฤติทางความคิด ความศรัทธา
ในมนุษย์พังทลายลงเบื้องหน้าเมื่อชาวโลกได้เห็นภาพของชาวยิวนับล้านที่ถูกสังหารโดยทหารนาซี คําถามถึง
ความรับผิดชอบและการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกคนต่อการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ครั้งนี้ไม่ว่าจะทางตรงหรือทาง
อ้อมเกิดเป็นประเด็นถกเถียงทั้งในเชิงปรัชญาและเชิงการเมือง ในขณะเดียวกันประเทศฝรั่งเศสต้องเผชิญ
กับกระแสการเรียกร้องเอกราชอันนํามาซึ่งสงคราม ไม่ว่าจะเป็นสงครามเวียดนามหรือสงครามแอลจีเรียที่
ทวีความต ึงเครียดมากขึ้นทุกที ท่ามกลางวิกฤติแห่งศรัทธานี้งานประพันธ์ของกามูส์ที่กล้านําเสนอ สะท้อน
และตั้งคําถามกับสิ่งซึ่งหลงเหลืออยู่บนซากปรักหักพังของวัฒนธรรมตะวันตกจึงผลักให้เขากลายเป็นนักเขียน
นักคิดและนักหนังสือพิมพ์แนวหน้าของโลกตะวันตก
หากเทียบกับชอง-ปอล ซาตร์ (Jean-Paul Sartre) นักคิดร่วม
8
สมัยผู้บุกเบิกปรัชญาแนวอัตถิภาวนิยม (Existentialisme) งานของ
กามูส์เป็นงานเชิงศีลธรรมมากกว่างานเชิงปรัชญา เป็นงานที่สะท้อน
ทัศนคติที่มีต่อโลกมากกว่าที่จะเป็นระบบทฤษฎี เป็นการหวนกลับมา
ของความเชื่อแนวมนุษยนิยมมากกว่าการเรียกร้องการปฏิวัติทาง
ชอง-ปอล ซาตร์
การเมือง เป็นมนุษยนิยมที่ผ่านสงครามและการเข่มฆ่า เป็นมนุษยนิยมที่
ยอมรับในขีดจํากัดของมนุษย์เพื่อพยายามให้คุณค่ากับ “ชีวิต” และ “การมีอยู่” ใหม่อีกครั้งหนึ่ง นี่คือ
9
มนุษยนิยมที่ยืนหยัดอยู่เคียงข้างผู้ถูกกดขี่ในนามของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และความยุติธรรม
ในปี ค.ศ. 1957 กามูส์ตีพิมพ์บทความ “ว่าด้วยเรื่องกิโยติน” (“Réflexions sur la guillotine”)
ในหนังสือข้อพิจารณาเรื่องโทษประหารชีวิต (Réflexions sur la peine capitale) ซึ่งมีบทความแปล
8 ในทศวรรษที่ 40-50 ซาตร์และกามูส์ส์มีบทบาทอย่างมากทั้งทางการเมืองและในโลกของปรัชญาวรรณกรรม
ผลงานและความคิดของทั้งคู่มักจะถูกนํามาศึกษาในเชิงเปรียบเทียบและในเชิงคู่ตรงข้าม ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน
(Doubrovsky, 1960); ในบทความนี้ หากมีการใช้ศัพท์ที่แปลมาจากภาษาต่างประเทศจะให้ศัพท์ภาษาต่างประเทศนั้น
(ภาษาฝรั่งเศสหรือภาษาอังกฤษ) กํากับด้วย.
9 กามูส์ส์มีมารดาหูหนวกเชื้อสายสเปนและบิดาเชื้อสายฝรั่งเศสซึ่งเสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่ 1
เขาเติบโตมาในเขตยากจนของเมืองแอลเฌ (Alger) ประเทศแอลจีเรียเขตซึ่งผู้คนจากหลากหลายเชื้อชาติอยู่ร่วมกัน
จากอัตชีวประวัติของเขานี้เองทําให้ “เขาเลือกที่จะยืนอยู่เคียงข้างคนยากจน คนด้อยโอกาส คนที่ถูกกดขี่
เคียงข้างผู้คนทั้งหลายที่ทุกข์ทรมานแต่ไม่ สามารถแสดงออกซึ่งความทุกข์ระทมของตนออกมาได้ เฉกเช่นมารดาของเขา”
“Once and for all he took his stand on the side of the poor, the unfortunate, the oppressed, of all those
who, like his mother, suffer but are unable to express their sufferings.” (Rubé and Douglas, 1960: 6).