Page 151 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 151

150      แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน


                                                                                                   31
                เวลาที่พอเหมาะพอดี”  และ “เพื่อให้การลงทัณฑ์เป็นตัวอย่างที่แท้จริง การลงทัณฑ์จะต้องน่าสยดสยอง”
                ในทางตรงกันข้ามโทษประหารชีวิตในสังคมฝรั่งเศสกลับ “ถูกนําเสนอในรูปแบบที่อ่อนโยนและไกลตัว  และ
                                                                           32
                น่ารับฟังยิ่งกว่าเรื่องโรคมะเร็ง [...] สวมด้วยมงกุฎดอกไม้แห่งสํานวนโวหาร”

                       ยิ่งไปกว่านั้น การยกเลิกการโฆษณาและการประหารชีวิตในที่สาธารณะสะท้อนว่าเหตุผลเรื่อง

                “การเชือดไก่ให้ลิงดู” ที่ผู้สนับสนุนโทษนี้มักจะอ้างเป็นเหตุผลหลัก แท้จริงแล้วเป็นเพียง “เหตุผลลวง” เพื่อ
                                                                                        33
                หลอกผู้คนและหลอกตนเอง เพราะในสังคมที่ “วิวัฒนาการทางอารมณ์รู้สึกของสาธารณชน”   พัฒนามาถึง
                จุดที่ฝรั่งเศสเป็นอยู่  ณ ปีค.ศ.1957 นี้ การพูดถึงหรือการนําเสนอ “มหรสพแห่งความตาย” นี้จะต้องนําไปสู่
                การตั้งคําถามเรื่องความชอบธรรมของโทษประหารชีวิตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ (Camus, 1979 [1957]: 131)

                เพราะฉะนั้น  เหตุผลเรื่อง “ความเป็นตัวอย่างของโทษประหารชีวิต”  นี้จึงมิใช่ “เหตุผล” (ที่มีความเป็น
                เหตุเป็นผล)  ที่แท้จริงของการสนับสนุนโทษนี้เพราะรัฐ “ไม่เชื่อในคุณค่าเรื่องความเป็นตัวอย่างของโทษนี้
                                                                                        34
                หากรัฐยังคงโทษนี้ไว้ก็เพียงเพราะเหตุผลเรื่องจารีตและไม่ได้สนใจที่จะตรึกตรองถึงมันจริงๆ”

                       ข้อโต้แย้งที่สองเป็นประเด็นเรื่อง “ความขัดแย้งระหว่างธรรมชาติของกฎหมายและธรรมชาติของ

                มนุษย์”  ซึ่งนำมาสู่ข้อสรุปที่ว่า โทษประหารชีวิตไม่อาจทําให้คนที่ตัดสินใจฆ่าหวาดกลัวได้ ณ ช่วงวินาทีที่

                เขาลงมือฆ่าและไม่สามารถยับยั้งการก่อฆาตรกรรมจากคนที่ไม่รู้ว่าวันนี้ตนเองจะสามารถกลายเป็น
                ฆาตรกรได้ เพราะมนุษย์ตกเป็นฆาตรกรในลักษณะเดียวกันกับที่เขาตกเข้าไปในความทุกข์ (Camus, 1979
                [1957]: 132)   สิ่งที่น่าสนใจนอกเหนือจากตัวเลขสถิติของอาชญากรที่เคยเข้าชมการประหารชีวิตที่กามูส์

                ยกมาสนับสนุนข้อโต้แย้งของเขานั้นก็คือประเด็นเรื่อง “การกลัวความตาย”   ของมนุษย์ทุกผู้ทุกนาม
                “การกลัวความตาย”  เป็นความรู้สึกที่ลึกลับและเป็นฐานรองรับแนวคิดเรื่องโทษประหารชีวิตเมื่อเรากลัว

                ความตายโทษประหารชีวิตก็น่าจะต้องหยุดเราจากการก่อคดีอุกฉกรรจ์ แต่ทําไมการณ์กลับหาเป็นเช่นนั้นไม่?
                ทําไมอาชญากรรมจึงยังคงมีอยู่ แม้ว่าเราจะได้พัฒนาและปรับปรุงโทษประหารชีวิตมาตลอดในช่วงหลาย

                ศตวรรษที่ผ่านมาเพื่อต่อสู้กับสิ่งนี้? (Camus, 1979 [1957]: 134) กามูส์ให้คําอธิบายว่า “ถ้าหากว่าการกลัว




                       31  “la terreur [...] devienne en chacun de nous une force assez aveugle et assez puissante pour
                compenser au bon moment l’irrésistible désir du meurtre”, “Pour que la peine soit vraiment exemplaire,
                il faut qu’elle soit effrayante.” (Camus, 1979 [1957]: 127, 126).

                       32  “[...] un châtiment présenté comme doux et expéditif, et plus supportable en somme qu’un
                cancer, [...] couronné des fleurs de la rhétorique” (Camus, 1979 [1957]: 130).
                       33  “l’évolution de la sensibilité publique” (Camus, 1979 [1957]: 131).
                       34  “Il ne croit donc pas à la valeur exemplaire de la peine, sinon par tradition et sans se donner
                la peine de réfléchir.” (Camus, 1979 [1957]: 130).
   146   147   148   149   150   151   152   153   154   155   156