Page 140 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 140
วันรัก สุวรรณวัฒนา
บทคัดย่อ
บทความชิ้นนี้มุ่งศึกษาวิวาทะเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศฝรั่งเศส โดยพิจารณาข้อโต้แย้ง
ของอัลแบร์ กามูส์ในความเรียง “ว่าด้วยเรื่องกิโยติน” ด้วยจุดยืนที่คัดค้านโทษประหารชีวิตอย่างชัดเจน
กามูส์หักล้างข้ออ้างเรื่อง“ความเป็นตัวอย่าง” ของกลุ่มผู้สนับสนุนโทษประหารชีวิตอย่างมีตรรกะและเป็น
ระบบ ประเด็นเรื่องความชอบธรรม ความผิดและความรับผิดชอบถูกอธิบายด้วยสามัญสํานึกและหลัก
จิตวิทยา ด้วยหลักการเชิงศีลธรรมและด้วยความเชื่อในคุณค่าความเป็นมนุษย์ที่อยู่ในความเป็นตัวตนของ
กามูส์เอง การวิเคราะห์ความเรียงชิ้นนี้จะนํามาสู่คําถามที่ว่าอะไรคือหน้าที่ที่แท้จริงของโทษประหารชีวิตใน
สังคมฝรั่งเศสหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ในท้ายที่สุด เราจะพบว่าโทษสูงสุดนี้ไม่ได้ทําหน้าที่ในการเป็น
เครื่องมือลดแรงจูงใจในการกระทําผิดของคนในสังคมอย่างที่ฝ่ายสนับสนุนมักจะนํามากล่าวอ้างเสมอ
หากแต่โทษนี้ได้ถูกทําให้ชอบธรรมจากการทําหน้าที่อื่นในสังคมโดยผ่านมายาคติที่ถูกสร้างขึ้นจากเหตุผลทาง
ประวัติศาสตร์และทางอุดมการณ์ทางการเมือง