Page 115 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 115
114 แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน
ในทางนักเลงเจ้าชู้ของตนซึ่งเป็นความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมที่ให้ค่ากับผู้ชายเจ้าชู้มากกว่าผู้ชายรักเดียวใจเดียว
แม้กระทั่งการเลือกที่จะเป็นจระเข้หรือมนุษย์ ไกรทองก็ยังใช้เวทมนตร์สะกดให้วิมาลามีรูปร่างเป็น
มนุษย์ เพื่อตอบสนองความใคร่ของตน โดยไม่ได้นึกถึงจิตใจของนางจระเข้แม้แต่น้อย ดังคําประพันธ์ต่อไปนี้
เมื่อนั้น โฉมเจ้าไกรทองพงศา
เปรมปริ่มยิ้มย่องต้องวิญญาณ์ ด้วยนางวิมาลาจะคลาไคล
ครั้นเห็นนางแต่งตัวสรรพเสร็จ จึงถอดแหวนเพชรที่นิ้วใส
เสกด้วยวิทยาเรืองชัย เอาใส่ในมวยผมกัลยา
แล้วลงยันต์เลขเสกซ้ํา ปิดประจําท่ามกลางเกศา
มิให้นวลนางวิมาลา กลับคืนกายาเป็นกุมภีล์
(พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย, 2545: 316)
ไกรทองใช้เวทมนตร์เสกผ่านแหวนเพชรใส่มวยผมนางวิมาลาไม่ให้นางกลายร่างเป็นจระเข้เมื่ออยู่บน
บก แสดงว่าไกรทองใช้อํานาจของตนจํากัดสิทธิเสรีภาพของนางวิมาลาในการเลือกที่จะเป็นจระเข้หรือมนุษย์
อย่างที่ใจต้องการ และสังคมก็ยอมรับได้เพราะวัฒนธรรมไทยปลูกฝังกันมาว่าเมียต้องเชื่อฟังผัว
ค่านิยมของสังคมถือเป็นความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมที่ช่วยเสริมให้ระบบชายเป็นใหญ่ยั่งยืนอยู่ใน
สังคมไทย เห็นได้จากการที่ไกรทองมีค่านิยมว่าหากเจ้าชู้ชาวบ้านก็จะพากันเลื่องลือ จึงคิดจะพานางวิมาลาไป
อยู่บนบกด้วยกัน ดังนี้
อย่าเลยจะชวนนางขึ้นไป เลี้ยงเป็นเมียไว้จะดีอยู่
ให้คนลือชื่อเราว่าเจ้าชู้ จะมีผู้สรรเสริญสืบไป
(พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย, 2545: 307)
แสดงให้เห็นว่าไกรทองต้องการพาวิมาลาขึ้นไปอยู่บนบกด้วยกันเพราะต้องการให้คนยกย่อง
สรรเสริญตนในทางเจ้าชู้นั่นเอง มีนักวิชาการหลายท่านกล่าวถึงค่านิยมเรื่องเจ้าชู้ของไกรทองไว้
ยุรฉัตร บุญสนิท (2525) และวิภา กงกะนันทน์ (2540) มี
ความเห็นตรงกัน คือ ความเจ้าชู้เป็นการกดขี่เพศหญิงทางหนึ่ง แต่ก็
เป็นคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของพระเอกแบบชาวบ้านอย่างไกร
ทอง แสดงว่าสังคมยกย่องและเชิดชูความเจ้าชู้ รวมทั้งต้องการให้
วีรบุรุษของเขามีลักษณะของชายเจ้าชู้ ซึ่งแสดงถึงความมีเสน่ห์อย่าง
เด่นชัด นอกจากนี้คุณลักษณะที่ทําให้ครอบครัวซึ่งมีภรรยาหลายคนมี
ความสงบสุขได้ เป็นสิ่งที่พึงปรารถนาหรืออุดมคติทางสังคม ภาพจาก 100 ปี เหม เวชกร (2545)
เสาวลักษณ์ อนันตศานต์ (2546) กล่าวว่าไกรทองมีวาจาเป็นเสน่ห์และเป็นนักรัก ซึ่งกลายเป็นคุณสมบัติ