Page 110 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 110

วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา   109


                            วิมาลาดึงคุณสมบัติของนางมนุษย์สองพี่น้องที่มีผัวร่วมกันเพื่อตอบโต้นางตะเภาแก้วและนางตะเภา
                     ทอง โดยกล่าวว่านางทั้งสองเป็นมนุษย์เสียเปล่าแต่กลับประพฤติตัวไม่ดีเพราะเป็นพี่น้องที่มี “ผัว” ร่วมกัน

                     อันเป็นคุณลักษณะที่ไม่พึงประสงค์ แสดงให้เห็นว่ามีความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมรองรับการด่าทอพี่น้องที่มีผัว
                     ร่วมกันได้ เนื่องจากวัฒนธรรมไทยปลูกฝังให้เชื่อว่าการที่ผู้หญิงโดยเฉพาะพี่น้องมีผัวคนเดียวกันนั้นเป็นสิ่งที่ไม่
                     ดีงามนัก


                            ท้าวรําไพปู่ของชาลวันกล่าวถึงความแตกต่างระหว่างเผ่าพันธุ์ของจระเข้กับมนุษย์ไว้ในตอนที่ชาลวัน
                     เข้ามาปรึกษาเรื่องที่ฝันว่าตนถูกพระอินทร์ฟันศีรษะจนขาด ท้าวรําไพจึงกล่าวถึงการที่ชาลวันไปลักนางมนุษย์
                     ซึ่งเป็นคนละเผ่าพันธุ์มาเป็นเมียนั้นจะเป็นเหตุให้ชาลวันพินาศ


                                   ซึ่งฝันว่าท้าวมหาอัมราช             มาพิฆาตชีวงลงตักษัย
                            จะมีหมอวิทยากล้าชาญชัย                     มาฆ่าให้มรณังในครั้งนี้
                            เจ้าหาญกล้าไปพานางมนุษย์                   ที่ผ่องผุดลักษณามารศรี
                            เขาจึงหาญราญรอต่อฤทธี                      ไม่พอที่จะต้องยากลําบากใจ

                                                                                            (บุษย์, 2521: 33)

                            ท้าวรําไพสื่อว่าการพานางมนุษย์ลงมาเป็นเมียนั้นทําให้หมอจระเข้ลงมาเอาชีวิตชาลวันได้ เพราะ
                     ชาลวันประพฤติตัวผิดศีลธรรมที่พรากนางมนุษย์มาจากถิ่นของเขา ทั้งยังประพฤติผิดธรรมชาติที่ไปมี

                     ความสัมพันธ์กับมนุษย์ จึงจะเห็นได้ว่าความแตกต่างระหว่างเผ่าพันธุ์เป็นเหตุผลหนึ่งที่ตัวละครหยิบยกขึ้นมา
                     อ้างถึงเมื่อเกิดความรุนแรงในหลายๆ ครั้ง นอกจากนี้ยังสื่อได้ว่าการรักษาความสงบสุขของท้าวรําไพที่ไม่ให้

                     ชาลวันยุ่งเกี่ยวกับนางตะเภาทองนั้น แสดงให้เห็นถึงการจัดระเบียบหรือรักษาความสงบสุขของสังคมโดยการ
                     ต้องตัดขาดความสัมพันธ์หรือการติดต่อสื่อสารกันระหว่าง 2 เผ่าพันธุ์ ซึ่งก็คือการแบ่งแยกระหว่างเผ่าพันธุ์
                     นั่นเอง

                                                                   จากคําพูดของท้าวรําไพสื่อให้เห็นถึงแนวคิดการ
                                                            แบ่งแยก “เขา” ออกจาก “เรา” และการรักษาความสงบ

                                                            สุขของสังคมโดยการตัดขาดความสัมพันธ์ที่ผิดเผ่าพันธุ์ ซึ่ง
                                                            ถือเป็นความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมที่อ้างว่าการรักษาความ

                                                            สงบสุขโดยแบ่งแยกเผ่าพันธุ์เป็นสิ่งที่ถูกต้องและชอบธรรม

                                                                   จากที่ได้กล่าวมาจะพบว่าการต่อสู้หรือวิวาทกัน
                                                            ระหว่างตัวละครทั้งหมดเป็นผลมาจากแนวคิดการแยกตน

                                                            ออกจากกลุ่มอื่นซึ่งก่อให้เกิดการแบ่งแยกเผ่าพันธุ์ การ
                     จิตรกรรมฝาผนังวัดอัมพวันเจติยาราม จ.สมุทรสงคราม
                                                            แบ่งแยกเผ่าพันธุ์นี้ถือเป็นความรุนแรงเชิงโครงสร้างที่ฝัง
   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115