Page 118 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 118
วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา 117
ลักษณะที่ผู้หญิงถูกบิดากําหนดโชคชะตาหรือมีบทบาทเหนือบุตรสาวยังปรากฏอยู่ในบทละครนอก
เรื่องอื่นด้วย ในเรื่องสังข์ทอง ท้าวสามนต์กําหนดชะตาชีวิตของพระราชธิดาโดยจัดพิธีเลือกคู่ให้ และยังขับไล่
นางรจนาไปอยู่กระท่อมปลายนาเมื่อนางเลือกได้เจ้าเงาะ และเมื่อทราบว่าเจ้าเงาะเป็นพระสังข์ก็เรียกนาง
กลับมาอยู่ในวังอีก แสดงให้เห็นว่าชะตาชีวิตของนางรจนาขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของบิดาทั้งสิ้น ส่วนเรื่องไชย
เชษฐ์นางจําปาทองถูกท้าวอภัยนุราชผู้เป็นบิดาขับไล่ออกจอกเมืองเพราะจระเข้ที่นางเลี้ยงไว้กัดกินผู้คน ท้าว
สิงหลผู้เป็นยักษ์รับนางเป็นลูกบุญธรรมและเปลี่ยนชื่อเป็นนางสุวิญชา และยกนางให้พระไชยเชษฐ์ จนนาง
ต้องพบเจอมรสุมชีวิตมากมาย แต่สุดท้ายก็เพราะความช่วยเหลือของท้าวสิงหลทําให้นางกลับมามีความสุขอีก
ครั้ง แสดงให้เห็นว่าชะตาชีวิตของผู้หญิงมีบิดาเป็นผู้กุมไว้ส่วนหนึ่ง
ลักษณะดังกล่าวเป็นการตอกย้ําสถานภาพของผู้หญิงที่เป็นรองผู้ชายอยู่เสมอ ทั้งยังแสดงให้เห็น
ความรุนแรงเชิงโครงสร้างระหว่างเพศในสังคมไทยได้อย่างชัดเจน กล่าวคือ ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ระหว่าง
สามีกับภรรยา หรือบิดากับบุตรสาว ผู้หญิงก็ถูกกดขี่โดยระบบชายเป็นใหญ่ทั้งสิ้น ผู้หญิงไม่มีสิทธิ์เรียกร้อง
ใดๆ มีค่าเป็นเพียงสมบัติชิ้นหนึ่งของสามีและบิดาเท่านั้น และยังมีความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมคอยรองรับว่า
ผู้หญิงต้องเชื่อฟังบิดา ทําให้ผู้หญิงยอมรับสภาพการถูกบงการจากบิดาเรื่อยมา
ระบบชายเป็นใหญ่มีแนวคิดของการแบ่งแยกตนเองออกจากผู้อื่น เมื่อตัวละครชายมองตัวเองเป็นจุด
ศูนย์กลางและมองว่าตัวละครหญิงเป็น “ผู้อื่น” หรือ “วัตถุ” ก็ทําให้ผู้หญิงกลายเป็นสมบัติหรือวัตถุทางเพศ
ของผู้ชายได้อย่างง่ายดาย ความรุนแรงเชิงโครงสร้างนี้ยังทําให้ตัวละครชายต้องต่อสู้กันเพื่อแย่งผู้หญิงและกด
ขี่ตัวละครหญิงตามสถานะที่เหนือกว่าของตน ความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมก็คอยรองรับการใช้ความรุนแรงผ่าน
ระบบชายเป็นใหญ่ โดยผู้หญิงเองที่ยอมรับสถานภาพของตนที่เป็นรองฝ่ายชาย จากการตบตีกันเพื่อแย่ง
ผู้ชายหรือกระทําตามคําสั่งของบิดา คนในสังคมเองก็ยกย่องค่านิยมของผู้ชายเจ้าชู้ ทั้งยังเพิกเฉยต่อการกดขี่
ผู้หญิงในรูปแบบต่างๆ จึงยิ่งช่วยเสริมระบบชายเป็นใหญ่ให้ฝังรากลึกในสังคมไทยมากขึ้น และแสดงให้เห็นว่า
สังคมไทยยอมรับระบบชายเป็นใหญ่ ซึ่งเป็นแรงผลักดันให้เกิดความรุนแรงทางตรงได้ง่ายและแข็งแกร่งขึ้น
เรื่องไกรทองจึงถูกผลิตซ้ําในรูปแบบต่างๆ เพราะสังคมเคยชินกับความรุนแรงต่างๆ ในเรื่องและมองว่าความ
รุนแรงเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ยอมรับได้
ระบบปิตาธิปไตยได้จํากัดสิทธิเสรีภาพของผู้หญิงตามหลักสิทธิมนุษยชน ตราบใดที่ผู้ชายมองตนเอง
เป็นศูนย์กลางและมองผู้หญิงเป็น “คนอื่น” ก็เท่ากับสนับสนุนให้เกิดการกดขี่ผู้หญิงหรือการละเมิดสิทธิ
มนุษยชนได้มากเท่านั้น