Page 114 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 114
วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา 113
ทั้งชาลวันและไกรทองกดขี่ผู้หญิงอย่างเห็นได้ชัด กล่าวคือ ชาลวันมีเมียอยู่แล้ว 2 คน คือ วิมาลา
และเลื่อมลายวรรณ แต่เมื่อถูกใจหญิงอื่นก็ใช้กําลังเข้าจับตัวทันที ทั้งยังพูดจาเกี้ยวพานหญิงให้ยอมเป็นของ
ตน เมื่อนางไม่ยอมก็ใช้เวทมนตร์สะกดหญิงให้ยอมเป็นเมียของตนแต่โดยดี แสดงให้เห็นว่าชาลวันใช้ผู้หญิง
เพื่อตอบสนองความใคร่ของตนเองเป็นหลัก
ส่วนไกรทองก็มองผู้หญิงเป็นวัตถุทางเพศเช่นเดียวกัน ถ้าไกรทองต้องการเมียทั้งสี่คนเมื่อใด นางก็
ต้องทําหน้าที่ “เมีย” เมื่อนั้น เท่ากับว่าไกรทองใช้ผู้หญิงเป็นเครื่องบําบัดความต้องการทางเพศของตน ผู้ชาย
มองว่าร่างกายของผู้หญิงเท่านั้นที่มีค่า แต่ไม่ได้มองถึงคุณค่าด้านอื่นของผู้หญิงเลย เห็นได้จากในบทอัศจรรย์
ระหว่างไกรทองกับวิมาลาแสดงให้เห็นถึงการกดขี่ผู้หญิงโดยมองผู้หญิงเป็นวัตถุทางเพศที่มี “รสอร่อย”
ไหนเล่าเจ้าจะตกรางวัลพี่ หันหน้ามานี่จะบอกให้
สะกิดแก้มแนมนมชมสไบ คว้าไขว่ยวนเย้าเฝ้าตอแย
อัศจรรย์บันดาลอยู่บ่อยบ่อย รสอร่อยมิได้จืดให้ชืดแช่
พิรุณร่วงตวงไว้จนเต็มแล้ รักกันคุ้มแก่ไม่แชเชือน
การสัมผัสเย้ายวนชวนชื่น จะหาอื่นมาให้ไม่มีเหมือน
หยุดสวาทขาดเพลาเข้ามาเตือน มิได้เคลื่อนคลาดคลารารอ
(พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย, 2545: 346-347)
จากคําประพันธ์ข้างต้น ไกรทองแกล้งเฉไฉความใคร่หรือความต้องการของผู้ชายให้กลายเป็นรางวัล
ที่ผู้หญิงหรือวิมาลาเป็นฝ่ายมอบให้ตนแทน เมื่อสังเกตจากคําที่กวีใช้จะพบว่ากวีใช้คําว่า “รสอร่อย” แทนการ
ที่ผู้หญิงต้องตอบสนองความใคร่ต่อผู้ชาย ผู้หญิงจึงเปรียบเสมือนอาหารที่มีรสอร่อยสําหรับผู้ชาย แสดงให้เห็น
ถึงการตีค่าผู้หญิงว่าต้องตกเป็นวัตถุทางเพศของผู้ชายอยู่เสมอและเป็นสิ่งที่ยอมรับได้เพราะผู้หญิงเป็น “เมีย”
จึงต้องทําหน้าที่นี้อันแสดงให้เห็นถึงความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมที่รองรับการทําหน้าที่ “เมีย” ว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง
นอกจากนี้ไกรทองยังบังคับขืนใจผู้หญิงทั้งเมียหลวงและเมียน้อย เช่น ตอนที่ไกรทองใช้เวทมนตร์
บังคับให้วิมาลายอมขึ้นไปอยู่กับตนบนบกเพราะนางขัดขืน ดังนี้
เมื่อนั้น โฉมเจ้าไกรทองพงศา
ค่อยย่องตามนางวิมาลา เข้ามายังที่ห้องใน
เห็นนางโศกศัลย์เศร้าหมอง เป็นห่วงด้วยข้าวของไม่ไปได้
จึงร่ายเทพรําจวนป่วนใจ เป่าไปให้ต้องนางกุมภีล์
(พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย, 2545: 304)
จากคําประพันธ์ข้างต้นแสดงว่าตัวละครหญิงถูกกดขี่ ตัวละครชายทําทุกอย่างเพื่อตอบสนองความ
ต้องการของตนแต่เพียงฝ่ายเดียว คือ เพื่อให้ได้เชยชมนางเมื่ออยู่บนบกและผู้คนจะได้เลื่องลือกิตติศัพท์