Page 113 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 113

112      แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน


                               เหลือบเห็นกุมภีวิมาลา               โสภายอดอย่างนางสวรรค์
                       เจ้าไกรทองผยองไปใกล้กระชั้น                 นางตัวสั่นขวัญระรัวกลัวมนุษย์
                       เจ้าไกรทองคะนองยอดสรวมกอดนิด                นางร้องหวีดยิ่งรัดสะบัดฉุด

                       ร้องเรียกผัวช่วยด้วยเมียม้วยมุด             เป็นที่สุดแล้วหนาชาละวัน […]
                               กุมภาชาละวันหวั่นทรวงปึก            ได้ยินเสียงอึกทึกพิลึกหละ
                       ใจวาบๆ หลาบมนุษย์สุดมานะ                    แต่ผงะจะลุกขยุกรั้ง
                       พ่อแว่วสุระเสียงน้องร้องให้ช่วย             สิ้นกลัวม้วยลุกทะลึ่งโลดผึงผัง

                       ได้สติฉิวชะงักแอบฉากฟัง                     ยิ่งคลุ้มคลั่งทะลั่งแค้นแสนฮึดฮือ
                       เกิดเป็นชายตายเป็นไรเช่นไร                  ปล่อยให้ใครดูหมิ่นก็สิ้นชื่อ
                       วิมาลาเจียวมนุษย์มันฉุดมือ                  เฮ้ยฮื้อไม่หลงละกะชีวิต

                                                     (พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์, 2517: 22-23)
                       ชาลวันยอมสิ้นชีวิตแต่ไม่ยอมให้ถูกดูหมิ่นศักดิ์ศรีจากการที่ชายอื่นลวนลามเมียของตน เนื่องจาก

                ชาลวันต้องการรักษาอํานาจหรือความสามารถแห่งชายชาตรีให้อยู่เหนือกว่าหรืออย่างน้อยก็เท่าเทียมกับ
                ไกรทองที่เป็นผู้ชายเช่นเดียวกัน


                       ไกรทองก็ใช้ผู้หญิงเป็นส่วนเสริมบารมีของตนเช่นเดียวกัน การที่ไกรทองได้เมียอีก 2 คนของชาลวัน
                มาเป็นเมียของตน เป็นส่วนช่วยเสริมความภาคภูมิใจแก่ตัวละครชาย เนื่องจากผู้หญิงถือเป็นสมบัติของผู้ชาย
                การนําเมียของศัตรูมาเป็นของตนก็ถือได้ว่าตนมีชัยชนะเหนือศัตรู ดังนั้นเมื่อชาลวันตายแล้วไกรทองก็นึกถึง

                และอยากครอบครองวิมาลา เมียของชาลวัน จึงลงไปหาในถ้ําใต้น้ํา การที่ไกรทองได้เมียจระเข้ของชาลวันมา
                เป็นของตนถือเป็นการสมพาสที่ผิดธรรมชาติ แต่ก็มักเกิดขึ้นในวรรณคดีทั่วโลก พฤติกรรมของตัวละครที่มี

                ลักษณะแปลกๆ ก็ล้วนแต่เป็นภาพสะท้อนของจิตไร้สํานึกส่วนรวมของมนุษย์ตั้งแต่สมัยโบราณเรื่อยมาจนถึง
                ปัจจุบัน (ชลธิรา สัตยาวัฒนา, 2513: 129 อ้างถึงใน ปรียารัตน์ เชาวลิตประพันธ์, 2549: 67)


                       ดังนั้นการได้ตัวละครจระเข้มาเป็นเมียของไกรทองอาจสื่อถึงความต้องการมีเมียหลายคนของผู้ชาย
                ในสังคมไทย ตัวละครจระเข้เป็นเพียงตัวแทนของมนุษย์ที่อยู่ในรูปลักษณ์ของสัตว์เท่านั้น ทั้งยังตีความได้ว่า
                การที่ไกรทองได้จระเข้เป็นเมียนั้นเป็นการละเมิดกฎธรรมชาติ เปรียบเหมือนกับไกรทองได้เมียต่างเผ่าพันธุ์จึง

                ก่อให้เกิดปัญหาครอบครัวตามมา

                       ส่วนลักษณะด้านครอบครัวของตัวละครชายนั้น ระบบชายเป็นใหญ่ได้ครอบสังคมให้ฝ่ายชายเป็น
                ผู้นําของครอบครัว ความสัมพันธ์ระหว่างผัวกับเมียช่วยเน้นย้ําให้เห็นถึงบทบาทของความเป็นเมียและการเป็น

                วัตถุทางเพศของผู้หญิงได้อย่างชัดเจน
   108   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118