Page 111 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 111

110      แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน


                ลึกในสังคมซึ่งช่วยเสริมให้เกิดความรุนแรงทางตรงได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังมีความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมที่เข้า
                มาสร้างความชอบธรรมให้กับความรุนแรงทางตรงและความรุนแรงเชิงโครงสร้าง เนื่องจากความรุนแรงเชิง

                วัฒนธรรมจะบ่มเพาะให้คนในสังคมเชื่อว่า “กลุ่มอื่น” ด้อยกว่า “กลุ่มตน” และตนมีความชอบธรรมที่จะใช้
                ความรุนแรงเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งได้ เพราะ “กลุ่มอื่น” ไม่มีความเป็นมนุษย์เท่ากับ “กลุ่มตน” ในเรื่อง
                ไกรทอง มนุษย์เชื่อว่าตนมีความชอบธรรมที่จะปราบเผ่าพันธุ์อื่นหรือ “ผู้อื่น” ที่คุกคามความสงบสุขของสังคม

                จระเข้ก็ไม่ยอมให้ใครมารุกรานน่านน้ําของตน ส่งผลให้เกิดการต่อสู้ซึ่งเป็นความรุนแรงทางตรงได้ง่ายดายขึ้น
                เหมือนดังกรณีของการกวาดล้างชาวยิว เหตุใดฮิตเลอร์ผู้นําของเยอรมันในยุคหนึ่งจึงฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว

                นั่นไม่ใช่เพราะความเชื่อที่ว่าชาติพันธุ์ของตนสูงส่งกว่าชาติพันธุ์อื่นหรือ

                       ความรุนแรงของการแบ่งแยกเผ่าพันธุ์นี้กระทบกระเทือนหลักสิทธิมนุษยชน หากเรายึดหลักว่า
                มนุษย์เหนือกว่าสิ่งมีชีวิตอื่นและมีสิทธิชอบธรรมที่จะใช้ความรุนแรงทางตรงกับเผ่าพันธุ์อื่นได้ และก่อให้เกิด

                ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนเหมือนกับนโยบายการแบ่งแยกผิวของรัฐบาลอาฟริกาใต้ที่คนผิวขาวไม่ให้สิทธิ
                แก่คนผิวดําใดๆ ทั้งสิ้น (ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ , 2532: 551)


                  เพศ: หญิงและชายในเรื่องไกรทอง

                       ลัทธิถือเพศ (Sexism) เป็นความรุนแรงต่อสตรี อันมีลักษณะทําลายความกลมกลืนทางธรรมชาติใน
                การร่วมมือกันทางเพศ สร้างสังคมผู้ชายเป็นใหญ่ซึ่งมีลักษณะนิยมความรุนแรงและชอบการแข่งขัน (อนุช

                อาภาภิรม, 2543: 15) สังคมโลกมีกรอบของปิตาธิปไตยหรือระบบซึ่งผู้ชายในฐานะเป็นกลุ่มทางสังคมถูกสร้าง
                หรือสถาปนาให้มีบทบาทฐานะสูงกว่า และมีอํานาจเหนือกว่าผู้หญิง (ยศ สันตสมบัติ, 2548:  4) ปิตาธิปไตย

                หรือ ระบบชายเป็นใหญ่ เป็นวิธีคิดและแบบแผนปฏิบัติอันมีแนวโน้มที่จะให้ความสําคัญ คุณค่า และอภิสิทธิ์
                แก่ผู้ชายเหนือกว่าผู้หญิงอย่างเป็นระบบ โดยอาศัยอํานาจของบิดาเป็นฐานแก่อํานาจของเพศชายโดยรวม

                เป็นอํานาจที่แฝงเร้นกว่าอํานาจประเภทอื่นๆ เพราะคติแบบชายเป็นใหญ่ได้แทรกซึมอยู่ทั่วไป ใน
                ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในชีวิตประจําวันและมีลักษณะเป็นโครงสร้างครอบคลุม บทบาท พฤติกรรม วิธี

                คิด ทั้งของเพศหญิง เพศชาย และเพศอื่นๆ (เสนาะ เจริญพร, 2548: 298-299) จึงจะเห็นได้ว่าลัทธิถือเพศ
                เป็นความรุนแรงอันเกิดจากระบบความคิดที่ผู้ชายแบ่งแยกตนเองออกจากผู้หญิงอย่างสิ้นเชิง


                       ตัวอย่างของลัทธิถือเพศ คือ เด็กหญิงชาวจีนเคยเรียกร้องสิทธิในการเรียนหนังสือ หลังจากพ่อแม่
                ไม่ให้เรียนเพราะอ้างว่าการเรียนหนังสือเป็นของผู้ชาย ส่วนผู้หญิงต้องแต่งงานออกเรือน จึงควรอยู่ที่บ้านเพื่อ
                หัดทํางานบ้าน (ชัยวัฒน์ สถาอานันท์, 2532: 552) ปัญหาดังกล่าวสะท้อนค่านิยมในการแบ่งแยกเพศของชาว

                จีนที่ให้ความสําคัญแก่เพศชายมากกว่าหญิง ซึ่งไม่ได้พบแต่เฉพาะในประเทศจีนเท่านั้น ระบบปิตาธิปไตย
                ครอบงําความคิดของสังคมทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย
   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116