Page 120 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 120

วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา   119


                     พื้นที่จํากัดการต่อสู้เพื่อแย่งชิงทรัพยากรจึงเกิดขึ้น จะเห็นได้ว่าในแง่นี้เปรียบได้กับการต่อสู้เพื่อแย่งชิงดินแดน
                     และการแบ่งแยกทางเชื้อชาติของมนุษย์นั่นเอง



















                            การดํารงอยู่ของเรื่องไกรทองในรูปแบบต่างๆ แสดงให้เห็นถึงแนวคิดการแบ่งแยก “พวกเขา” ออก
                     จาก “พวกเรา” ที่ยังคงฝังลึกในโครงสร้างของสังคมไทย และการที่สังคมยอมรับหรือเคยชินกับความรุนแรง

                     แบบต่างๆ ในเรื่อง ซึ่งจะก่อให้เกิดความรุนแรงตามมา และจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นหากประชาชนไม่
                     ตระหนักถึงหน้าที่ของตนอย่างชัดเจน หรือนําความขัดแย้งไปใช้ในทางที่ผิด การลดความรุนแรงต้องเริ่มจาก

                     การแก้ไขโครงสร้างเหล่านี้ โดยให้ทุกคนตระหนักถึงหน้าที่ที่ตนเองพึงกระทํา มิใช่ยอมจํานนหรือใช้อํานาจ
                     ของตนเกินขอบเขตจนกระทบสิทธิของผู้อื่นเหมือนตัวละครในเรื่อง


                            ความรุนแรงในเรื่องไกรทองที่ฝังรากลึกในสังคมไทย ทั้งเรื่องของการแบ่งแยกเผ่าพันธุ์และเพศ ถือ
                     เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนทั้งสิ้น สหประชาชาติส่งเสริมให้นานาชาติเคารพและปฏิบัติตามต่อสิทธิ
                     มนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของมนุษย์ โดยไม่มีการแบ่งแยกชนชั้นหรือเผ่าพันธุ์ (วิชัย ศรีรัตน์, 2543:

                     138)  และตระหนักว่าปัญหาจากการที่สถานภาพของผู้หญิงในประเทศต่างๆ มักจะด้อยกว่าสถานภาพของ
                     ชายนั้น มีสาเหตุหลักประการหนึ่งมาจากการที่ผู้หญิงถูกกีดกันในเรื่องต่างๆ  บรรดาประเทศต่างๆจึงได้มีมติ

                     รับรองอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (CEDAW)  (กนกวรรณ ภิบาลชนม์,
                     2543: 105) ข้อหนึ่งที่ไทยตกลงปฏิบัติคือความเสมอภาคในครอบครัว ซึ่งหญิงไทยตกเป็นรองชายไทยอย่าง
                     หนัก กล่าวได้ว่าสิ่งที่จะบรรเทาความรุนแรงเหล่านี้ได้ คือ ให้การศึกษาด้านสิทธิมนุษยชนแก่ประชาชนให้รู้จัก

                     สิทธิและสามารถปกป้องคุ้มครองสิทธิได้ด้วยตนเองและโดยชุมชน (ศรีประภา เพชรมีศรี, 2543: 118)

                            สิทธิมนุษยชนจะเกิดขึ้นได้หากเราร่วมมือกันตระหนักถึงสิทธิของตนเอง และไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น
                     รวมทั้งเผยแพร่หลักสิทธิมนุษยชนให้ทุกคนรับรู้ เพื่อจะได้ขจัดการแบ่งแยกความเป็นมนุษย์ระหว่าง “เขา”

                     และ “เรา” ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชนจึงจะเกิดขึ้นจริงได้บนโลกใบนี้

                     หมายเหตุ: ผู้เขียนบทความขอขอบคุณ รองศาสตราจารย์ ดร.สรณัฐ ไตลังคะ และอาจารย์นัทธนัย ประสานนาม
                              ที่ให้คําแนะนําในการแก้ไขปรับปรุงบทความนี้
   115   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125