Page 117 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 117
116 แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน
จากตัวอย่างข้างต้นแสดงให้เห็นค่านิยมของสังคมว่าผู้หญิงต้องพึ่งพาผู้ชาย ฝ่ายชายสามารถกําหนด
ชะตาชีวิตของฝ่ายหญิงได้ โดยตัดสินใจว่าจะเลี้ยงดูผู้หญิงไว้หรือไม่ ดังนั้นสถานภาพของผู้หญิงจึงตกเป็นรอง
ผู้ชายอยู่มาก และยังถูกฝ่ายชายที่มีอํานาจเหนือกว่ากระทําอยู่ตลอด
คําประพันธ์อีกตอนหนึ่งที่ผู้ชายใช้ถ้อยคํากดผู้หญิงให้เป็นเพศที่ต่ํากว่าตน เพราะมาทะเลาะตบตีกัน
เพื่อแย่งชิงผู้ชาย ดังนี้
นางพี่น้องสองคนก็ล้นเหลือ บ้าโลหิตขวิดเฝือเหมือนมหิงส์
นางวิมาลาเล่าก็เพราพริ้ง น้อยหรือนั่นท่านผู้หญิงทั้งสามคน
เจ้าคารี้สีคารมไม่สมหน้า เหมือนอีแม่ค้าปลาที่หัวถนน
ขึ้นเสียงเถียงทะเลาะลนลน จะกรวดน้ําคว่ําคะนนเสียเดี๋ยวนี้
จะเขียนหนังสือหย่าสักห้าใบ ขีดแกงไดให้ดูอย่าจู้จี้
ทําประหนึ่งขึ้งโกรธเต็มที เดินหนีออกไปเสียให้พ้น
(พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย, 2545: 324)
แสดงให้เห็นว่าแม้แต่คําพูดของผู้ชายก็กดขี่ผู้หญิงอยู่ตลอดเวลา ไกรทองด่าผู้หญิงว่าเป็นแม่ค้าปลา
แสดงว่าผู้หญิงเป็นเพศที่ไร้มารยาท กุสุมา รักษมณี (2547: 151-152) กล่าวถึงคําว่า “แม่ค้าปลา” ที่ไกรทอง
ใช้ด่าผู้หญิงทั้งสามคนไว้ว่า คําว่า “แม่ค้า” นอกจากจะหมายถึงหญิงที่ทําการค้าขายแล้วยังแฝงความหมายว่า
เป็นคนช่างพูดช่างนินทาด้วย ปลาที่ขายนั้นเป็นของสดของคาว เห็นจะเพิ่มความหมายให้กับความช่างพูดช่าง
นินทาไปในทางลบอีกด้วย ที่ว่าขายปลาอยู่ที่หัวถนนนั้นก็น่าจะหมายถึงเป็นที่สาธารณะ เป็นตลาดกลางแจ้งที่
มีผู้คนสัญจนไปมาคับคั่ง เรื่องที่จะ “เม้า” จึงมีมากขึ้น
นอกจากนี้การที่ไกรทองขู่ว่าจะเขียนใบหย่าก็เท่ากับสะท้อนว่าผู้หญิงตกเป็นรองผู้ชายเพราะผู้ชาย
กล้าที่จะนําใบหย่ามาต่อรองกับการตัดสินใจของผู้หญิง และการที่ผู้หญิงตบตีกันเพื่อแย่งชิงผู้ชายมาเป็นของ
ตนนั้นก็ยิ่งตอกย้ําว่าผู้หญิงยอมรับสถานภาพของตนในฐานะ “เมีย” ที่ต้องพึ่งพา “ผัว” อยู่เสมอ ซึ่งแสดงให้
เห็นถึงระบบชายเป็นใหญ่ที่สร้างทั้งความรุนแรงทางตรง และความรุนแรงเชิงโครงสร้าง โดยมีความรุนแรงเชิง
วัฒนธรรมรองรับอีกต่อหนึ่ง
เศรษฐีเมืองพิจิตร บิดาของนางตะเภาแก้วและนางตะเภาทอง เป็นอีกคนหนึ่งที่เน้นย้ําความรุนแรง
ผ่านระบบชายเป็นใหญ่ในสังคมไทย เห็นได้จากตอนที่เศรษฐีประกาศยกตะเภาแก้วให้แก่ผู้ที่สามารถปราบ
ชาลวันได้สําเร็จ โดยมิได้ปรึกษาบุตรสาวเลยแม้แต่น้อย แสดงว่าเศรษฐียกมองว่าบุตรสาวเป็นสมบัติของตนที่
จะยกให้ใครก็ได้ และยังตัดสินใจยกทั้งตะเภาทองและตะเภาแก้วให้แก่ไกรทอง โดยมิได้ถามความคิดเห็นของ
ตะเภาทองแม้แต่น้อย