Page 109 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 109

108      แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน


                       ตะเภาทองตอบกลับนางจระเข้ทั้งสองด้วยน้ําเสียงประชดประชัน
                ว่าตนคงต้องการเป็นเมียจระเข้มาก ถึงกับคิดผิดตามมาด้วย ผัวของเจ้าก็จง

                พาไปอยู่ด้วยกัน ตัวข้าเองที่หยาบช้าชั่วร้ายยิ่งนัก หากพิจารณาน้ําเสียงและ
                คําพูดของตะเภาทองอย่างถี่ถ้วนแล้วจะพบว่า คําพูดที่ตะเภาทองว่าตนเอง
                เป็น “กาลี” นั้นสะท้อนไปสู่ตัวผู้ฟัง คือ สื่อไปถึงฝ่ายตรงข้ามว่าพวกจระเข้

                ต่างหากที่เป็นกาลีหรือชั่วร้ายเป็นเสนียดจัญไร มิใช่มนุษย์เช่นนางที่ผิด
                เผ่าพันธุ์ จากการเปรียบเปรยของตะเภาทองที่กล่าวมานี้แสดงให้เห็นว่า

                มนุษย์เป็นเผ่าพันธุ์ที่เห็นว่าตนสูงส่งเหนือสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นทั้งหมด

                       เมื่อตะเภาแก้วกับตะเภาทองพบว่าไกรทองพาวิมาลามาอยู่ในสวน
                                                                            ภาพจาก 100 ปี เหม เวชกร (2545)
                ก็เข้าไปต่อว่าและทําร้ายร่างกาย น่าสังเกตว่าตัวละครหญิงที่เป็นมนุษย์มัก
                ใช้ถ้อยคําที่มีลักษณะของการแบ่งแยกเผ่าพันธุ์เพื่อด่าทอฝ่ายตรงข้ามที่เป็นเผ่าพันธุ์อื่นอยู่เสมอ

                               ถ้าเป็นคนอื่นไกลน้องไม่ว่า          จะร่วมเรียงเคียงหน้าก็ควรที่
                       นี่มันชาติทรชนคนไพรี                        เห็นดีหรือเจ้าเอามาไว้ […]

                       แต่ผัวกุมภีล์แล้วมิหนํา                     ยังแถมซ้ํามนุษย์เข้าเป็นสอง
                       ไสหัวลงไปเสียท้องคลอง                       เดียรฉานจองหองไม่เจียมตัว
                                                             (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย, 2545: 320)

                       ตะเภาแก้วกับตะเภาทองต่อว่านางจระเข้วิมาลาว่าเป็นชาติพันธุ์ที่ชั่วร้าย ทั้งยังเป็นศัตรูของมนุษย์

                ไกรทองจึงไม่ควรนําวิมาลามาเป็นเมีย ที่น่าเจ็บแสบคือนางมนุษย์ทั้งสองไล่วิมาลาให้ลงคลองกลับถิ่นกําเนิด
                ของตนไปเสีย และทิ้งท้ายไว้ว่าวิมาลาเป็นสัตว์เดรัจฉานแล้วยังมาทําจองหองไม่เจียมตัวอีก ดังว่านางจระเข้
                วิมาลาไม่มีสิทธิ์ที่จะอยู่ร่วมโลกกับนางมนุษย์ทั้งสองนี้ได้ จากคําพูดของตะเภาแก้วตะเภาทองสื่อได้ว่ามนุษย์

                เป็นสิ่งมีชีวิตที่ภาคภูมิใจในเผ่าพันธุ์ตนเป็นอย่างมากจึงแบ่งแยกเผ่าพันธุ์กับสิ่งมีชีวิตอื่นอยู่เสมอ

                        ฝ่ายนางจระเข้ก็ไม่ยอมให้ใครมาดูถูกเผ่าพันธุ์ตนจึงใช้วิธีโต้กลับโดยอ้างถึงคุณสมบัติของนางมนุษย์
                สองพี่น้องที่ไม่ดีงามนัก


                               ขึ้นหน้าว่าเป็นเจ้าผัว              อันจะให้กูกลัวอย่าสงสัย
                       ถึงกูเป็นชาติกุมภีล์ไซร้                    ก็ไม่โฉดโหดไร้เหมือนมึงนี้
                       อีมนุษย์อุบาทว์ชาติชั่ว                     พี่น้องร่วมผัวน่าบัดสี
                       ขาดสามสี่วันไม่ทันที                        เป็นกุลํากุลีทะยานใจ

                                                             (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย, 2545: 322)
   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114