Page 108 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 108

วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา   107


                                   แล้วหยิบหอกชื่อสัตตะโลหะ            ว่านี่ละฤทธีดีขยัน
                            กับเทียนระเบิดเปิดน้ําเป็นสําคัญ           มีดหมอนั้นลงเลขเสกอาคม
                            มาส่งให้เจ้าไกรแล้วให้พร                   จงถาวรผาสุกอย่าทุกข์ถม

                            นึกอะไรให้ได้ตามความนิยม                   ทั้งอาคมวิทยาให้กล้าดี
                                                                                            (บุษย์, 2521: 31)

                            ตัวละครทั้งสองใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหา เนื่องจากเกิดร่องรอยการต่อสู้เป็นเลือด บาดแผล
                     และการบาดเจ็บของชาลวัน ดังคําประพันธ์ตอนชาลวันสู้กับไกรทองที่ว่า

                                   ขณะนั้นชาละวันไม่พรั่นจิตต์         สําแดงฤทธิ์เข้าใกล้มิได้หนี

                            เอาคางเกยแพล่มจมนที                        เข้าราวีไกรทองคะนองฤทธิ์
                            ข้างเจ้าไกรใจหาญทะยานจับ                   โดดแทงฉับถูกอักชะนักติด
                            กุมภาร่าถาโถมกระโจมชิด                     คะนองฤทธิ์แน่นอัดสลัดหลุด

                            แล้วเลยทําสิงหนาทเผ่นฟาดผาง                ไกรทองรับจับหางกระชากฉุด
                            กุมภีล์ร้ายกลายเป็นแผลแย่มนุษย์            จะรบรุดเหลือล้นพ้นปัญญา
                                                                                            (บุษย์, 2521: 35)

                            จากคําประพันธ์ข้างต้น ชาลวันกับไกรทองต่อสู้กันอย่างดุเดือด จนชาลวันได้รับบาดเจ็บ บาดแผล

                     บนร่างกายของชาลวันเป็นหลักฐานของความรุนแรงทางตรง ซึ่งเป็นผลมาจากความรุนแรงเชิงโครงสร้างอัน
                     เกิดจากความขัดแย้งระหว่างเผ่าพันธุ์หรือการแยกเขาแยกเรานั่นเอง

                            ไม่เพียงแค่ตัวละครชายเท่านั้นที่มีความขัดแย้งระหว่างเผ่าพันธุ์ เมื่อเกิดการวิวาทหรือขัดแย้งกันใน

                     เรื่องความรัก ตัวละครหญิงก็มักหยิบยกเหตุผลนี้เพื่อโจมตีกัน ซึ่งยิ่งเสริมให้เกิดความรุนแรงทางตรงได้ง่ายขึ้น
                     ทั้งการทําร้ายร่างกายและการด่าทออีกฝ่ายหนึ่ง ดังกรณีของวิมาลาและเลื่อมลายวรรณแสดงอาการหึงหวง
                     เมื่อชาลวันพาตะเภาทองมาเป็นเมีย จึงเข้าต่อว่าตะเภาทองอย่างดุเดือด ตะเภาทองก็โต้กลับด้วยถ้อยคําเจ็บ

                     แสบอันสื่อถึงการแบ่งแยกเผ่าพันธุ์ระหว่างมนุษย์กับจระเข้ ดังนี้

                                   ครั้นคิดแล้วตะเภาทองจึงร้องว่า      อนิจจาช่างไม่เกรงข่มเหงได้
                            ชะแม่หม่อมเมียหลวงล่วงว่าใคร               ไม่อายใจหึงส์ผัวตัวสําคัญ
                            ข้าสิอยากรักใคร่ได้กุมภา                   จึงต้องมาพาลผิดไม่คิดพรั่น

                            ผัวของเจ้าๆเอาไปไว้ด้วยกัน                 ข้าสิมันหยาบช้าเป็นกาลี
                                                                                            (บุษย์, 2521: 26)
   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113