Page 106 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 106
วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา 105
สังคมไทยมีค่านิยมเกี่ยวกับชาติกําเนิดมาเป็นเวลานาน ชาติกําเนิดหมายถึงการมีเชื้อสายอยู่ในวงศ์
ตระกูล เผ่าพันธุ์ หรือเชื้อชาติหนึ่งๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่บุคคลไม่อาจกําหนดได้ด้วยตัวเอง และถูกกําหนดสถานะสูง
ต่ําโดยสังคม สังคมไทยยึดถือว่าชาติกําเนิดช่วยส่งให้บุคคลได้รับความนับถือและดูถูกเหยียดหยามได้ จึง
เกี่ยวพันกับความมีศักดิ์ศรี นอกจากนี้เรามักจะนําถิ่นที่อยู่มารวมกับเรื่องชาติกําเนิด จึงมีวลีที่ว่า “หัวนอน
ปลายตีน” (กุสุมา รักษมณี, เสาวณิต จุลวงศ์ และสายวรุณ น้อยนิมิตร 2550: 53-54) จึงจะเห็นได้ว่า
สังคมไทยก็ถือเรื่องการแบ่งแยกเผ่าพันธุ์หรือชาติกําเนิดอย่างเด่นชัด
หากใช้เกณฑ์ของการแบ่งแยก “เขา” และ “เรา” จะพบว่าในเรื่องไกรทองเป็นมนุษย์ ส่วนชาลวัน
เป็นจระเข้ แสดงให้เห็นถึงความเป็นคนละเผ่าพันธุ์อย่างชัดเจน และถ้าเราพิจารณาว่าตัวละครในเรื่องเป็น
ตัวแทนของมนุษย์ก็แสดงให้เห็นถึงการแบ่งแยกมนุษย์ 2 กลุ่มที่มีความแตกต่างกันเช่นเดียวกัน การแบ่งแยก
“เขา” และ “เรา” นี้เป็นความรุนแรงเชิงโครงสร้างที่สังคมแบ่งแยกกลุ่มคนออกจากกัน เมื่อชาลวันถูกกีดกัน
ให้เป็น “คนอื่น” ที่เข้ามาทําลายความสงบสุขของสังคมเมืองพิจิตร ก็เพียงพอที่จะเป็นข้ออ้างให้มีการใช้ความ
รุนแรงเพื่อแก้ปัญหาซึ่งเป็นความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมอีกต่อหนึ่ง ดังนั้นเศรษฐีเมืองพิจิตร บิดาของนางตะเภา
ทอง จึงป่าวประกาศให้ผู้คนออกตามล่าชาลวันอย่างครึกโครม
ก่อนที่เศรษฐีเมืองพิจิตรจะป่าวประกาศหาหมอจระเข้มาปราบชาลวัน มีคําพูดของเศรษฐีที่แสดงให้
เห็นถึงการแบ่งแยกเผ่าพันธุ์ ดังนี้
จะกล่าวถึงท่านเศรษฐีเมืองพิจิตต์ ครั้นทราบกิจลูกน้อยเสน่หา
ทั้งสองเฒ่าเฝ้าสะอื้นกลืนน้ําตา นั่งโศกาตีอุระเพียงจะพัง
ทั้งพี่น้องเผ่าพันธุ์ทั้งนั้นหมด 12 โศกกําสรดเศร้าอุราเหมือนบ้าหลัง
ว่ากุมภาฆ่ากินสิ้นชีวัง ไม่กลับหลังมาพบประสพกัน
(บุษย์, 2521: 28)
จากคําประพันธ์ข้างต้นจะเห็นได้ว่า “ญาติพี่น้อง” ที่กําลังเสียใจ
อย่างหนักนี้ หมายรวมถึงญาติพี่น้องของคนที่ถูกชาลวันกินหรือฆ่า และญาติ
พี่น้องของเผ่าพันธุ์มนุษย์ซึ่งก็คือมนุษย์ทุกคนนั่นเอง อันแสดงให้เห็นว่า
มนุษย์มีอัตลักษณ์ของความเป็นกลุ่มตนอย่างชัดเจน
จากเหตุการณ์ข้างต้นมนุษย์ผู้ที่เชื่อว่าตนเป็นศูนย์กลางของ
สิ่งมีชีวิตทั้งปวงจึงยอมไม่ได้ที่จะให้สิ่งมีชีวิตชนิดอื่นหรือ “คนอื่น” เข้ามา
จิตรกรรมฝาผนังวัดอัมพวันเจติยาราม ทําลายความสงบสุขของ “กลุ่มตน” ส่งผลให้มีการประกาศหาหมอจระเข้
จ.สมุทรสงคราม
12
เน้นข้อความโดยผู้เขียนบทความ