Page 107 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 107

106      แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน


                   มาปราบชาลวัน ซึ่งสื่อถึงการแบ่งแยกเผ่าพันธุ์อีกเช่นกัน

                               ครั้นรุ่งเช้าสองเฒ่าเศรษฐีใหญ่       แสนอาลัยธิดามารศรี

                       จึงร้องเรียกบ่าวข้ามาทันที                  แล้วเศรษฐีสั่งความไปตามการ
                       ว่าเมืองนี้หมอดีมีไหมหวา                    หามาฆ่าจระเข้เดรฉาน
                       ใครรับได้พามาอย่าช้านาน                     แม้นทําการสมใจให้รางวัล

                                                                                     (บุษย์, 2521: 28-29)

                       คําที่ว่าจระเข้เป็นสัตว์เดรัจฉานนั้น ก็แสดงให้เห็นว่าจระเข้เป็นสัตว์อีกเผ่าพันธุ์หนึ่งซึ่งแตกต่างจาก
                มนุษย์ เพราะคําว่า “เดรัจฉาน” หรือ “เดียรัจฉาน” หมายถึง สัตว์เว้นจากมนุษย์ เช่น หมู หมา วัว ควาย
                (มักใช้เป็นคําด่า) (ราชบัณฑิตยสถาน, 2546:  416) คําพูดของเศรษฐีเมืองพิจิตรจึงแบ่งแยกความเป็น “เขา”

                และ “เรา” ระหว่างเผ่าพันธุ์ได้อย่างชัดเจน

                       การป่าวประกาศในครั้งนี้ส่งผลให้มีหมอจระเข้จํานวนมากเข้ามารับอาสาปราบชาลวัน ซึ่งก่อให้เกิด

                ความรุนแรงทางตรงตามมา ส่วนชาลวันเองก็ถือว่าตนเป็นเจ้าแห่งน่านน้ํา จึงมิยอมให้ผู้ใดเข้ามารบกวนถิ่น
                ของตนได้ ทําให้ต้องออกไปต่อสู้กับหมอจระเข้ ดังนี้

                               ฝ่ายกุมภาที่อยู่ในคูหา              ต้องมนตราเร่าร้อนสุดผ่อนผัน
                       รู้ว่ามีหมอมาชาละวัน                        ไม่นึกพรั่นใจตัวกลัววิชา

                       จําจะขึ้นไปประหารผลาญชีวาตม์                แล้วมุ่งมาตร์กินเล่นเป็นภักษา
                       คิดแล้วจากถ้ําพลันมิทันช้า                  เป็นกุมภาผุดผางขึ้นกลางชล
                       เจ้าพวกหมอไม่รอพุ่งชะนัก                    ถูกดังอักไม่เข้าเท่าเส้นขน
                       กุมภีล์ไล่ไขว่คว้าอลวน                      ได้หลายคนเลยกินสิ้นชีวา

                       ที่เหลือตายว่ายน้ําขึ้นตลิ่ง                ว่าดุจริงน่ากลัวอ้ายตัวกล้า
                       ชาละวันครั้นเห็นหมอไม่รอรา                  เลยกลับมาสู่ถ้ําแสนสําราญ
                                                                                       (บุษย์, 2521: 29)

                       ความรุนแรงทางตรงเกิดขึ้นเมื่อหมอจระเข้ใช้อาวุธทําร้ายชาลวัน ชาลวันก็ไล่กัดกินหมอจระเข้

                เหล่านั้นจนตายไปหลายราย

                       ในตอนที่ไกรทองต่อสู้กับชาลวันก็เป็นความรุนแรงทางตรงเช่นกัน ทั้งสองใช้กําลังและอาวุธ
                ประหัตประหารกัน ชาลวันมีเขี้ยวแก้วและร่างกายใหญ่โตจึงมีฤทธิ์เดชมากกว่าจระเข้อื่น ส่วนไกรทองก็มี

                เครื่องมือหรืออาวุธวิเศษเพื่อต่อกรกับชาลวัน ได้แก่ หอกสัตตโลหะ เทียนระเบิดน้ํา และมีดหมอที่ได้รับจาก
                อาจารย์ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการสังหารชาลวัน ดังคําประพันธ์ที่ว่า
   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112