Page 105 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 105

104      แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน


                       ในบทความนี้จะเรียกความรุนแรงที่เห็นได้ชัดเพราะมีผลต่อร่างกายโดยตรงว่า ความรุนแรงทางตรง
                ความรุนแรงที่ฝังรากลึกในระบบโครงสร้างสังคมว่า ความรุนแรงเชิงโครงสร้าง  และความรุนแรงที่สร้าง

                ความชอบธรรมให้ความรุนแรงข้างต้นว่า ความรุนแรงเชิงวัฒนธรรม โดยมุ่งชี้ให้เห็นว่าเรื่องไกรทอง เป็น
                ผลผลิตทางวัฒนธรรมของไทยที่สัมพันธ์กับค่านิยมแฝงเรื่องความรุนแรงในสังคม


                  ความรุนแรงต่างประเภทที่เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน

                       เมื่อพิจารณาโครงเรื่องของเรื่องไกรทองจะพบว่าปมขัดแย้งระหว่างไกรทองกับชาลวันเกิดจากการที่
                ชาลวันออกอาละวาดกัดกินผู้คนและฉุดคร่านางตะเภาทองไปจากบิดามารดา ทําให้ไกรทองอาสาออกติดตาม

                ไปช่วยเหลือ ความรุนแรงในเรื่องเกิดขึ้นนับตั้งแต่ชาลวันลักพาตัวตะเภาทอง และตามมาด้วยการต่อสู้หรือ
                ทะเลาะวิวาทกันของตัวละครต่างๆ

                       การใช้กําลังทําร้ายหรือต่อสู้กันเป็นความรุนแรงทางตรงที่ฝากบาดแผลและร่องรอยให้แก่ฝ่ายตรง

                ข้าม ในกรณีนี้สื่อถึงการล่วงละเมิดทางเพศต่อผู้หญิงด้วย ความรุนแรงทางตรงดังกล่าวเกิดมาจากความรุนแรง
                เชิงโครงสร้างที่กําหนดให้ผู้หนึ่งเหนือกว่าอีกผู้หนึ่ง ในเรื่องมนุษย์เชื่อว่าตนเหนือกว่าสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น และ
                ผู้ชายเชื่อว่าตนเหนือกว่าผู้หญิง ซึ่งเป็นผลมาจากความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมที่หล่อหลอมให้คนในสังคมเชื่อว่า

                การแบ่งแยกและการใช้ความรุนแรงเช่นนั้นเป็นสิ่งที่ชอบธรรมหรือยอมรับได้ กล่าวได้ว่าความรุนแรงทั้งหมดนี้
                สืบเนื่องมาจากแนวความคิดที่ว่าเขาเป็น “คนอื่น” ที่ไม่ใช่คนเหมือน “เรา” นั่นเอง  ในเรื่องไกรทองปรากฏ

                ความรุนแรงที่สืบเนื่องมาจากแนวคิดนี้ ซึ่งส่งผลให้เกิดความขัดแย้ง 2  ประการ ได้แก่ ความขัดแย้งระหว่าง
                เผ่าพันธุ์และเพศ


                  เมื่อเผ่าพันธุ์แบ่งแยกสิ่งมีชีวิต

                       ความขัดแย้งระหว่างเผ่าพันธุ์นี้เรียกได้อีกอย่างว่าลัทธิเชื้อชาติ (Racism)  หรือลัทธิเหยียดเชื้อชาติ

                (แอนเดอร์สัน, 2552:  271) ซึ่งเป็นอคติที่แสดงถึงความดูหมิ่นกลุ่มอื่นที่ต่างผิวพรรณกัน (อนุช อาภาภิรม,
                2543: 15) โดยเชื่อว่าเชื้อชาติของตนเหนือกว่าผู้อื่น จึงมีสิทธิโดยชอบที่จะใช้ความรุนแรงทางตรงรุกรานผู้อื่น
                เช่น กรณีของนาซีเยอรมัน ฮิตเลอร์ถือว่าชาวอารยันเหนือกว่าผู้อื่น จึงรุกรานผู้อื่น (ชัยวัฒน์ สถาอานันท์,

                2532: 66)  หรือความขัดแย้งทางเชื้อชาติระหว่างชาวอัฟโรอเมริกันผิวดํากับชาวผิวขาว ที่ตํารวจผิวขาวซึ่ง
                ทารุณกรรมชายผิวดําได้รับการปล่อยตัว จนทําให้เกิดการจลาจลในลอสแองเจลิส ปี ค.ศ. 1992 (ชัยวัฒน์

                สถาอานันท์, 2549:  11-13) เป็นต้น จะเห็นได้ว่าในกรณีนี้มนุษย์ใช้ข้อแตกต่างทางกายภาพของตนเป็น
                พื้นฐานในการแบ่ง “พวกเขา” ออกจาก “พวกเรา” จนถึงกับสร้างความคิดที่ว่ากลุ่มตนดีงาม ส่วนกลุ่มอื่นต่ํา

                ต้อยติดดิน
   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110