Page 104 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 104

วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา   103


                     โต้คู่ขัดแย้ง และไม่มีความคิดเชิงวิพากษ์ คือ พร้อมที่จะเชื่อความคิดที่สังคมส่วนใหญ่ยึดถือ ซึ่งเป็นความ
                     รุนแรงเชิงโครงสร้างที่แทรกซึมอยู่ในระบบคิดของคนในสังคมไทย

                            ผู้เขียนบทความใช้หลักเกณฑ์ของความรุนแรงทางตรง ความรุนแรงเชิงโครงสร้าง และความรุนแรง
                     เชิงวัฒนธรรมในการวิเคราะห์ความรุนแรงในเรื่องเสือโค ทําให้เห็นความรุนแรงที่ฝังรากลึกในสังคมไทย แต่ยัง
                     ไม่ได้กล่าวถึงความคิดแบบอัตนิยมที่แยกตนเองออกจากผู้อื่น อันเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของความรุนแรง


                            ระพี อุทีเพ็ญตระกูล (2551) กล่าวถึงความรุนแรงในเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนไว้ว่ามี 2 ประเภท คือ
                     ความรุนแรงทางวาจากับความรุนแรงทางการกระทํา  ความรุนแรงทางวาจามีทั้งการประชดและการบริภาษ
                     ส่วนความรุนแรงทางการกระทําแบ่งได้เป็นการกลั่นแกล้ง การข่มขืน การทําร้ายร่างกาย การต่อสู้ การทํา

                     สงคราม การฆ่า และการประหารชีวิต ระพีกล่าวว่ากวีบอกผลของการกระทํารุนแรงอย่างชัดเจน คือ ช่วย
                     สร้างอารมณ์สะเทือนใจและนําไปสู่ข้อคิดที่ว่า ตัวละครที่แก้ไขปัญหาด้วยวิธีการรุนแรงมักได้รับความทุกข์

                     นอกจากนี้ยังเห็นว่าความนิยมเรื่องราวที่รุนแรง อาจส่งผลต่อการสร้างรสนิยมในการนําเสนอความบันเทิงของ
                     ไทยในปัจจุบันดังเช่นกรณีของละครโทรทัศน์


                            หากใช้เกณฑ์ของความรุนแรงทางตรง ความรุนแรงเชิงโครงสร้าง และความรุนแรงเชิงวัฒนธรรม
                     พิจารณาประเภทของความรุนแรงในวิทยานิพนธ์ของระพี อุทีเพ็ญตระกูล จะพบว่าความรุนแรงทางวาจากับ
                     ความรุนแรงทางการกระทําเป็นความรุนแรงทางตรงทั้งหมด เนื่องจากมีผู้กระทําและผู้ถูกกระทําอย่างชัดเจน

                     มีเครื่องมือในการก่อความรุนแรง คือ คําพูดและอาวุธต่างๆ ทั้งยังมีบาดแผลหรือร่องรอยฝากไว้กับตัวละคร
                     อีกด้วย แต่ระพีไม่ได้กล่าวถึงความรุนแรงเชิงโครงสร้างซึ่งปรากฏอยู่ในสังคมและเป็นผลผลิตของความ

                     แตกต่างและความเหลื่อมล้ําต่ําสูงในสังคมไว้ รวมทั้งความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมที่ให้ความชอบธรรมกับความ
                     รุนแรงต่างๆ แม้จะพูดถึงความนิยมความรุนแรงที่ส่งผลต่อรสนิยมคนไทยในปัจจุบันก็ตาม และยังไม่ได้

                     กล่าวถึงแนวความคิดแบ่งแยก “กลุ่มเขา” ออกจาก “กลุ่มเรา” อีกด้วย

                            จากงานวิจัยที่คัดมาสรุปได้ว่าความรุนแรงจําแนกได้ 3 ประเภท คือ ความรุนแรงทางตรงหรือทาง
                     กายภาพหรือแบบลงมือ หมายถึง ความรุนแรงที่เป็นรูปธรรมเห็นตัวผู้กระทําและร่องรอยบาดแผลของ

                     ผู้ถูกกระทําอย่างชัดเจน ส่วนความรุนแรงเชิงโครงสร้างหรือแฝงเร้นหรือแบบไม่ลงมือ หมายถึง ความรุนแรงที่
                     ฝังรากลึกในระบบสังคม เป็นปัญหาเกี่ยวกับความไม่เป็นธรรมของโครงสร้างสังคม แม้ไม่เป็นรูปธรรมชัดเจน

                     เหมือนความรุนแรงประเภทแรก แต่ก็ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ําระหว่างคนในสังคมได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้
                     ยังมีความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมซึ่งหมายถึงส่วนเสี้ยวของวัฒนธรรมที่เข้ามาสร้างความชอบธรรมให้กับความ
                     รุนแรงทางตรงหรือความรุนแรงเชิงโครงสร้าง ความรุนแรง 2 ประเภทหลังนี้ก่อให้เกิดความรุนแรงต่อเนื่องอีก

                     ยาวนาน ทั้งยังเป็นแรงผลักดันให้เกิดความรุนแรงทางตรงได้ง่ายขึ้นอีกด้วย
   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109