Page 103 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 103
102 แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน
ตอกย้ําให้การกดขี่เอารัดเอาเปรียบยังคงดําเนินต่อไป เปลี่ยนแปลงได้น้อยกว่าแบบแรก จึงเป็นความรุนแรงที่
มีระดับชั้นลึกลงมา และความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมหรือความคิดความเชื่อเป็นความรุนแรงที่เปลี่ยนแปลงได้
น้อยมาก จึงมีระดับลึกที่สุด
อนุช อาภาภิรม (2543: คํานํา) กล่าวไว้ว่าความรุนแรงมี 2 ประเภท คือ ความรุนแรงทางกายภาพ
หรือแบบลงมือ (Active Violence) กับความรุนแรงที่แฝงเร้นหรือเชิงโครงสร้างหรือแบบไม่ลงมือ (Passive
Violence)
ความรุนแรงทางกายภาพหรือแบบลงมือแบ่งได้เป็น 1) ความรุนแรงในครอบครัว 2) ความรุนแรงใน
ชุมชน 3) ความรุนแรงจากองค์กรอาชญากรรม 4) ความรุนแรงจากองค์กรธุรกิจเอกชน 5) ความรุนแรงจาก
รัฐ 6) สงครามและอาวุธสงคราม
ความรุนแรงโครงสร้างมี 7 อย่าง ได้แก่ 1) ลัทธิทางเพศ 2) ลัทธิเชื้อชาติ 3) ลัทธิจักรวรรดินิยม
4) ลัทธิทหาร 5) ลัทธิวัตถุนิยม 6) ลัทธิคัมภีร์ 7) ลัทธิอวดตัว
ความรุนแรงต่างๆ เหล่านี้ขัดต่อสิทธิมนุษยชนที่มนุษย์ทุกคนพึงมี เนื่องจากคําว่า “สิทธิมนุษยชน”
หมายถึง สิทธิอันจําเป็นที่มนุษย์พึงมีเพื่อให้มนุษย์ได้มีชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี (วิชัย ศรีรัตน์, 2543: 2) หรือสิทธิ
ทั้งหลายซึ่งเป็นที่ยอมรับกันในประเทศที่มีอารยธรรมว่า เป็นสิทธิพื้นฐานที่จําเป็นในการดํารงชีวิตอย่างมี
ศักดิ์ศรีของมนุษย์และในการพัฒนาบุคลิกภาพของมนุษย์ ได้แก่ สิทธิเสรีภาพในชีวิต ร่างกาย และความมั่นคง
ปลอดภัยในร่างกาย เป็นต้น จนปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันแล้วว่าสิทธิมนุษยชนเป็นรากฐานแห่งเสรีภาพ ความ
ยุติธรรม และสันติภาพในโลก การปฏิเสธสิทธิมนุษยชนจะก่อให้เกิดความไม่สงบ ความขัดแย้งทั้งในระดับ
ระหว่างประเทศและแม้กระทั่งกลุ่มชนในประเทศเดียวกันได้ (ชัยวัฒน์ สถาอานันท์, 2532: 542-544) ความ
รุนแรงที่กล่าวมาข้างต้นจึงเป็นอุปสรรคต่อการดําเนินชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรีของมนุษย์เท่ากับเป็นการละเมิดสิทธิ
มนุษยชนนั่นเอง
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าความขัดแย้งเป็นองค์ประกอบที่สําคัญของวรรณกรรมทั่วโลก ความรุนแรงอัน
เป็นผลของความขัดแย้งจึงมักปรากฏในวรรณกรรมเช่นเดียวกัน มีงานวิจัยจํานวนหนึ่งที่กล่าวถึงความรุนแรง
ในวรรณกรรมไทย
บาหยัน อิ่มสําราญ (2548) กล่าวถึงความรุนแรงในเรื่องเสือโคว่า เป็นวิธีการที่ใช้เพื่อแก้ไขความ
ขัดแย้ง 2 ลักษณะ คือ ความขัดแย้งต่างเผ่าพันธุ์ และความขัดแย้งในเผ่าพันธุ์เดียวกัน ผู้เขียนกล่าวว่ามีการ
อธิบายความรุนแรงในเรื่องเสือโคตอนทํามาตุฆาตและการเผาคนทั้งเป็น ให้เป็นสิ่งที่ยอมรับได้ด้วยกลวิธีต่างๆ
ซึ่งชี้ให้เห็นว่าสังคมไทยไม่มีความคิดเรื่องอภัยวิถี คือ พร้อมที่จะใช้ความรุนแรงที่ถูกทําให้ชอบธรรมเพื่อตอบ