Page 102 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 102

วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา   101


                     กลุ่มตนให้อยู่ต่ําจากความเป็นมนุษย์ยิ่งขึ้น เช่น การฝึกหน่วยกล้าตายของนักจิตวิทยาในรัฐนาวีสหรัฐอเมริกา
                     จะมีการแสดงภาพทางวัฒนธรรมของศัตรูที่พึงรังเกียจ เช่น นําภาพชาวจีนหรือชาวญวนที่รับประทานเนื้อ

                     สุนัขมาให้ผู้ถูกฝึกซึ่งอยู่ในสังคมอเมริกันที่รักสุนัขดู (Peter Watson อ้างถึงใน ชัยวัฒน์ สถาอานันท์, 2549: 46)

                            เมื่อมนุษย์มองว่า “คนอื่น” ไม่ใช่ “กลุ่มเรา” ก็สามารถใช้ความรุนแรงแก่กันได้ง่ายขึ้น ดังที่มี
                     นักวิชาการจําแนกประเภทของความรุนแรงไว้ดังนี้

                            ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ (2532: 62-68) กล่าวถึงความรุนแรงไว้ว่ามี 3 ประเภท คือ ความรุนแรง

                     ทางตรง (direct violence) ความรุนแรงเชิงโครงสร้าง (structural  violence) และความรุนแรงเชิง
                     วัฒนธรรม (cultural violence)


                            ความรุนแรงทางตรงเป็นความรุนแรงที่มีผลต่อร่างกายโดยตรงจึงเห็นผลได้อย่างชัดเจน เช่น รอย
                     แผล ความพิการ เป็นต้น และมีตัวผู้กระทําอันเป็นที่มาของความรุนแรงนั้น ความรุนแรงทางตรงนี้อาจมีผลใน
                     เชิงทําลายร่างกาย เช่น การใช้ดาบฟัน การใช้มีดแทง การวางเพลิง การถูกยาพิษ เป็นต้น หรือมีผลในการ

                     ขัดขวางการทํางานของร่างกาย เช่น การรัดคอ การไม่ให้น้ําหรืออาหาร การใช้โซ่ล่าม การขัง เป็นต้น

                            ความรุนแรงเชิงโครงสร้างเป็นความรุนแรงที่ทําให้เกิดช่องว่างระหว่างศักยภาพของมนุษย์กับสิ่งที่
                     มนุษย์เป็นอยู่จริง ความรุนแรงเช่นนี้ตัวผู้กระทําไม่สําคัญเพราะความรุนแรงยังคงฝังรากลึกในสังคมให้มี

                     ผู้กระทําเปลี่ยนผ่านเข้ามาทําหน้าที่ได้ตลอดเวลา เช่น เด็กไทยเป็นโรคขาดสารอาหาร ทั้งๆ ที่ประเทศไทย
                     ส่งออกข้าวไปยังต่างประเทศ และสังคมสามารถแก้ปัญหานี้ได้แต่ไม่ลงมือกระทํา หรือเด็กไทยต้องเสียชีวิต
                     ด้วยความเจ็บป่วยก่อนวัยอันควร เนื่องจากระบบสาธารณูปโภคไม่ดี สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาที่ฝังรากลึกอยู่ใน

                     โครงสร้างของสังคมไทย


                            ส่วนความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมเป็นการขยายขอบเขตความรุนแรงสองประเภทแรก หมายถึง ส่วน
                     เสี้ยวของวัฒนธรรมที่ทําหน้าที่สนับสนุนรองรับความรุนแรงทางตรงหรือเชิงโครงสร้างให้กลายเป็นสิ่งที่ถูกต้อง
                     หรืออย่างน้อยก็ไม่ใช่เรื่องผิดร้ายแรงอะไร เช่น กรณีของเณรแอที่นําศพทารก 9 เดือนมาประกอบพิธีย่างศพ

                     กุมารทองเหมือนอย่างที่ขุนแผนทําไว้ในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน จะเห็นได้ว่าเรื่องราวของขุนแผนปรากฏ
                     อยู่ในวัฒนธรรมไทยมาเป็นเวลานาน ทั้งยังเป็นที่ยอมรับของคนในสังคม โดยเฉพาะการใช้น้ํามันพรายทํา
                     เสน่ห์ให้หญิงรัก นอกจากนี้เณรแอก็อ้างว่าตนประกอบพิธีตามขั้นตอนของขุนแผน (ชัยวัฒน์ สถาอานันท์,

                     2549: 54, 73-78) แสดงให้เห็นว่าความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมให้ความชอบธรรมกับการกระทําอันโหดร้ายของ
                     เณรแอครั้งนี้


                            หากพิจารณาระดับชั้นของความรุนแรงจะพบว่า ความรุนแรงทางตรงที่มีผู้กระทําชัดเจนจะ
                     เปลี่ยนแปลงได้ง่ายหรือบ่อยที่สุด จึงเป็นความรุนแรงที่มีระดับตื้นที่สุด ส่วนความรุนแรงเชิงโครงสร้างเป็นการ
   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107