Page 101 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 101
100 แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน
กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยกับเจ้าจอมมารดา
ศิลาก็ได้นิพนธ์บทละครนอก 5 เรื่อง ได้แก่ ไกรทอง แก้วหน้าม้า เทวัญนางคุลา มณีพิชัย และสุวรรณหงส์
(จตุพร มีสกุล, 2540: 2) จึงจะเห็นได้ว่าเรื่องไกรทองนี้พัฒนามาจากนิทานประจําถิ่นแล้วจึงมีผู้นํามาแต่งเป็น
บทละครนอกซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และต่อมาจึงมีการผลิตซ้ําในหลายรูปแบบทั้งบทละครนอก บท
ละครเสภา หนังสือคํากาพย์ นิทานคํากลอน เพลงพื้นบ้าน เพลงไทยสากล หนังสือการ์ตูน ภาพยนตร์การ์ตูน
ภาพยนตร์ และละครโทรทัศน์
เรื่องไกรทองแพร่หลายในสังคมไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีเนื้อหาที่เข้มข้น กล่าวคือ มีการต่อสู้ที่
ตื่นตาตื่นใจ และมีบทรักระหว่างมนุษย์กับจระเข้ นอกจากนั้นเรื่องราวในเรื่องไกรทองยังเสนอความขัดแย้ง
และความรุนแรงของคนในสังคมได้อย่างเด่นชัด น่าสนใจว่าเหตุใดเรื่องไกรทองจึงสืบทอดเนื้อหาที่กล่าวถึง
ความขัดแย้งและความรุนแรงตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทั้งยังถูกผลิตซ้ําในรูปแบบต่างๆ บทความนี้จึงมุ่งศึกษา
ความขัดแย้งซึ่งสัมพันธ์กับความรุนแรงแบบต่างๆ ซึ่งยังคงฝังรากลึกในสังคมไทย โดยพิจารณาจากบทละคร
นอกพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เรื่องไกรทอง และนิทานตอนต้นก่อนบทพระ
ราชนิพนธ์เป็นหลัก เนื่องจากเป็นฉบับที่แพร่หลายและมีเนื้อความครบถ้วน ทั้งนี้ผู้เขียนบทความจะยกคํา
ประพันธ์จาก นิทานคํากลอนเรื่องไกรทองของนายบุษย์ และ บทละครเสภาเรื่องไกรทอง พระนิพนธ์ในกรม
หมื่นนราธิปประพันธ์พงศ์ ประกอบ เมื่อกล่าวถึงนิทานตอนต้นก่อนบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 เพื่อความ
สมบูรณ์ของเนื้อหา
ความรุนแรงกับมายาการแห่งอัตลักษณ์
ความรุนแรงเกิดขึ้นในสังคมภายใต้กระบวนทัศน์ที่ยอมรับการใช้ความรุนแรงว่าเป็นเรื่องที่ยอมรับได้
นอกจากนี้ยังมีความคิดเกี่ยวกับการแยก “เขา” ออกจาก “เรา” หรือการสร้างมายาระหว่าง “เขา” และ
“เรา” ขึ้นมารองรับความรุนแรงนั้น ซึ่งมีพื้นฐานมาจากการที่มนุษย์มีความสามารถในการแยกตนเองและกลุ่ม
ของตนจากผู้อื่นและกลุ่มอื่น หรือการสัมผัสรับรู้โดยมีตัวเองเป็นศูนย์กลาง หรือที่เรียกว่า อัตนิยม
(Egocentrism) กล่าวได้ว่าการที่มนุษย์แยกตัวเองออกจากมนุษย์คนอื่นได้ก็เพราะมนุษย์สร้าง “อัตลักษณ์”
ขึ้นมาเป็นชุดๆ ภายใต้มายาการแห่งอัตลักษณ์นี้ มนุษย์สามารถใช้ความรุนแรงต่อ “ผู้อื่น” ได้ไม่ยากหากเกิด
ความขัดแย้ง อัตลักษณ์ในที่นี้อาจหมายถึงชาติ เชื้อชาติ ศาสนา หรือชนชั้น ซึ่งเป็นตัวชี้ว่า “เรา” เป็นใคร มา
จากไหน และยังชี้ว่าใครไม่ใช่ “พวกเรา” แต่เป็น “คนอื่น” (ชัยวัฒน์ สถาอานันท์, 2549: 26-39)
นอกจากนี้ยังมีการแยกประเภทเทียม (Pseudospeciation) ที่ใช้เงื่อนไขทางวัฒนธรรมและ
การเมืองแบ่งแยกมนุษย์จนทําให้คิดเอาเองว่าตนเท่านั้นเป็นมนุษย์ที่แท้จริง ส่วนกลุ่มอื่นไม่ใช่มนุษย์ แต่ต่ํา
กว่ามนุษย์ (Erik H. Erikson อ้างถึงใน ชัยวัฒน์ สถาอานันท์, 2549: 42) ซึ่งเป็นการกดกลุ่มอื่นที่แตกต่างจาก