Page 100 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 100

วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา   99


                       บทนํา

                            ความขัดแย้งก่อกําเนิดมาพร้อมกับมนุษยชาติ เมื่อคนหมู่มากหลากหลายความคิดมาอยู่รวมกันใน
                     สังคม ย่อมเกิดความขัดแย้งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังจะเห็นได้จากประวัติศาสตร์และตํานานวีรบุรุษในกลุ่มชน

                     ต่างๆ ที่มักบันทึกเรื่องราวความขัดแย้งมากกว่าความสงบสุข

                            เมื่อเกิดความขัดแย้ง คนในสังคมอาจเลือกใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา เนื่องจากสังคมถูกครอบ
                     ด้วยกระบวนทัศน์ชนิดหนึ่งที่ยอมรับการใช้ความรุนแรง นอกจากนี้มนุษย์ยังมีเหตุผลรองรับการใช้ความ

                     รุนแรงโดยวิธีแยกตัวเองออกจากมนุษย์คนอื่นๆ สันติวิธีและปฏิบัติการไร้ความรุนแรงซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่ง

                     ของการยุติความขัดแย้งจึงกลายสภาพเป็นข้อยกเว้น

                            มโนทัศน์เรื่องการใช้ความรุนแรงปรากฏเด่นชัดในวรรณกรรม แม้โลกวรรณกรรมเป็นโลกแห่ง
                     จินตนาการ แต่ก็แฝงไว้ด้วยความจริงหลายประการ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ความขัดแย้งและความรุนแรงจะ

                     ปรากฏอยู่ในวรรณกรรมของทุกกลุ่มชน เนื่องจากความขัดแย้งเป็นพฤติกรรมของมนุษย์โดยไม่แบ่งแยกว่าจะ
                     เป็นชนชาติใด

                            หากอธิบายตามหลักของวรรณกรรมวิจารณ์จะพบว่าความขัดแย้งเป็นองค์ประกอบหนึ่งของ

                     วรรณกรรมซึ่งสําคัญมาก ความขัดแย้งเกิดขึ้นระหว่างการผูกปมที่จะนําไปสู่จุดสุดยอด อาจเป็นความขัดแย้ง
                     ระหว่างมนุษย์กับชะตากรรม ระหว่างมนุษย์กับสังคมหรือสภาพแวดล้อม หรือระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ด้วยกัน
                     ซึ่งเรียกว่าความขัดแย้งภายนอก และยังมีความขัดแย้งภายในจิตใจของตัวละครเอง ซึ่งเรียกว่าความขัดแย้ง

                     ภายใน (อิราวดี ไตลังคะ, 2546: 4) จึงจะเห็นได้ว่าความขัดแย้งเป็นสิ่งจําเป็นสําหรับวรรณกรรมทั่วโลก

                            วรรณคดีไทยเรื่องหนึ่งที่สะท้อนความขัดแย้งระหว่างเผ่าพันธุ์และเพศไว้อย่างเด่นชัด ทั้งยัง
                     แพร่หลายอยู่ในสังคมไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน คือ เรื่องไกรทอง  ที่มีต้นกําเนิดมาจากตํานานพื้นบ้านของ
                                                                          11
                     จังหวัดพิจิตร วรรณคดีเรื่องไกรทอง มีเค้าเรื่องมาจากตํานานชาละวัน  ของเมืองพิจิตร เล่าถึงจระเข้อกตัญญู
                     กินตายายผู้เลี้ยงดู แล้วออกอาละวาดกัดกินคนไม่เว้นแต่ละวันจนชาวบ้านเรียกชื่อว่า “ตาละวัน” และเพี้ยน

                     เป็น “ชาละวัน” (ฉลอง สุวรรณโรจน์, 2542: 1819) วันหนึ่งชาลวันได้คาบลูกสาวของเศรษฐีเมืองพิจิตรไปกิน
                     “ไกรทอง” ชาวเมืองนนทบุรีจึงอาสามาปราบ จนได้ทรัพย์สมบัติและมีหน้ามีตาอยู่ในเมืองพิจิตรสืบต่อมา


                            จากตํานานดังกล่าวได้มีผู้นําไปแต่งเป็นบทละครนอกครั้งกรุงเก่าหรือสมัยอยุธยา ต่อมาในสมัยกรุง
                     รัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงนําบทละครนอกครั้งกรุงเก่าเรื่องไกรทองและเรื่อง
                     อื่นอีก 4 เรื่อง ได้แก่ สังข์ทอง ไชยเชษฐ์ มณีพิชัย และคาวี มาพระราชนิพนธ์ใหม่ด้วยสํานวนของพระองค์เอง

                     ซึ่งเป็นฉบับที่ได้รับความนิยมกว่าสํานวนอื่น เห็นได้จากการจัดพิมพ์ออกเผยแพร่อย่างต่อเนื่อง ต่อมา


                            11
                              สะกดตามต้นฉบับ
   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105